การฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศมาเลเซีย

จากการสำรวจสาธารณะในประเทศมาเลเซียโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติใน ค.ศ. 2013 ครัวเรือนที่สำรวจส่วนใหญ่รับรู้ว่าพรรคการเมืองของมาเลเซียมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง[1] หนึ่งในสี่ของครัวเรือนที่ถูกสำรวจมองว่าความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับการทุจริตนั้นไม่มีประสิทธิภาพ[1] การฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศมาเลเซียโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในผลลัพธ์ของการประกวดราคาสาธารณะ[2]

บรรดาผู้บริหารธุรกิจที่ได้รับการสำรวจในรายงานระดับความสามารถในการแข่งขันของโลกของสภาเศรษฐกิจโลก ค.ศ. 2013–2014 เปิดเผยว่าพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณของบริษัทต่าง ๆ ก่อให้เกิดข้อเสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจในประเทศมาเลเซีย[3] โดยบางครั้ง จะมีการมอบสัญญากับรัฐบาลให้แก่บริษัทที่มีความสัมพันธ์กันดี และนโยบายในการมอบรางวัลโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้แก่บริษัทภูมิบุตรที่ได้รับการคัดเลือกโดยไม่มีการประกวดราคาแบบเปิดยังคงมีอยู่[4]

ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 มาเลเซียได้ปรากฏในไทม์แมกกาซีนโดยมีความโดดเด่นอย่างน่าสงสัยในการเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่ถูกเน้นเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง นิตยสารดังกล่าวเน้นไปที่เรื่องอื้อฉาวเบอร์ฮัดการพัฒนา 1มาเลเซีย (1MDB) และกการฉ้อราษฎร์บังหลวงของนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก[5]

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 นาจิบถูกศาลสูงมาเลเซียตัดสินลงโทษในข้อหาการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ, การฟอกเงิน และความผิดทางอาญาฐานละเมิดทรัสต์จำนวนเจ็ดกระทง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวเบอร์ฮัดการพัฒนา 1มาเลเซีย โดยเขาถูกตัดสินจำคุก 12 ปี และปรับ 210 ล้านริงกิตมาเลเซีย[6]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Global Corruption Barometer 2013". Transparency International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2016. สืบค้นเมื่อ 25 February 2014.
  2. "Malaysia Corruption Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-23. สืบค้นเมื่อ 2024-03-09.
  3. "Global Competitiveness Report 2013-2014". The World Economic Forum. สืบค้นเมื่อ 25 February 2014.
  4. "Malaysia Country Profile". Business Anti-Corruption Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2016. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  5. "M'sia on Time Magazine's list of corruption scandals". Malaysiakini. 2016-03-18.
  6. Rashid, Hidir Reduan Abdul (2020-07-28). "Najib sentenced to 12-year concurrent prison term, RM210m fine". Malaysiakini.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้