การฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่าน

การฆ่าตัวตายด้วยการขาดอากาศหายใจจากแก๊สเฉื่อยในห้องปิด

การฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่าน เป็นการฆ่าตัวตายโดยเผาถ่านในห้องปิด มีความคล้ายกับวิธีการฆ่าตัวตายด้วยการขาดอากาศหายใจจากแก๊สเฉื่อย

กลไกฤทธิ์ แก้

เมื่อถ่านเผาไหม้ ความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ด้วยความเป็นพิษของมัน ความเข้มข้นของ CO เพียงหนึ่งส่วนต่อพันส่วนก็สามารถถึงแก่ชีวิตได้หากสูดดมเป็นเวลาสองชั่วโมง[1] การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของคาร์บอนทำให้เกิดคาร์บอนมอนออกไซด์ ซึ่งจับกับฮีโมโกลบินอย่างแน่น ทำให้ลดความสามารถของเลือดในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายอย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ทำให้เสียชีวิตเนื่องจากภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยจากภาวะพิษคาร์บอนมอนออกไซด์

มีผู้อธิบายวิธีฆ่าตัวตายดังกล่าวไว้ว่า "ง่ายดายและไร้ความเจ็บปวด" เมื่อเทียบกับวิธีอื่น[2] ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่านหลายคนใช้แอลกอฮอล์หรือยานอนหลับระหว่างพยายาม และผู้รอดชีวิตรายงานว่าพวกตนไม่รู้สึกอึดอัดสักนิด[2]

ดอมินิก ลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาจิตเวชศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง แย้งการอธิบายวิธีดังกล่าวว่าไร้ความเจ็บปวด[3] อาการตรงแบบของภาวะพิษคาร์บอนไดออกไซด์เฉียบพลัน ได้แก่ ปวดศีรษะและคลื่นไส้ โดยหัวใจเต้นเร็วและชักเป็นอาการอื่นที่อาจเกิดได้[4] ผู้รอดชีวิตจากวิธีนี้ปกติต้องอาศัยการอภิบาลเพื่อจัดการความจุออกซิเจนที่บกพร่องชั่วคราวของเลือด และอาจมีความเสียหายถาวรต่อสมองอันเนื่องจากสมองขาดเลือดได้

อ้างอิง แก้

  1. Staff. "Carbon Monoxide and Health Effects". The Engineering Toolbox. engineeringtoolbox.com. สืบค้นเมื่อ 16 April 2017.
  2. 2.0 2.1 Chung WS, Leung CM (June 2001). "Carbon monoxide poisoning as a new method of suicide in Hong Kong". Psychiatr Serv. 52 (6): 836–7. doi:10.1176/appi.ps.52.6.836. PMID 11376237. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-09-22. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
  3. Staff (30 May 2002). "Life is precious". Shanghai Star. China Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 April 2017.
  4. Choi IS (June 2001). "Carbon monoxide poisoning: systemic manifestations and complications" (PDF). J Korean Med Sci. 16 (3): 253–61. doi:10.3346/jkms.2001.16.3.253. PMID 11410684.