การคุมกำเนิดฉุกเฉิน

การคุมกำเนิดฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency contraception) เป็นมาตรการคุมกำเนิดซึ่งใช้ได้หลังมีการร่วมเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ มีสองรูปแบบ คือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินและอุปกรณ์ในมดลูก

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน แก้

 
ตัวอย่างยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
 
ส่วนประกอบในกล่องยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือ การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนฉุกเฉิน อาจมีฮอร์โมนตัวเดียวกับที่พบในยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป (คือ เอสโตรเจน โปรเจสตินหรือทั้งคู่) ในปริมาณสูงกว่า หากรับประทานหลังการร่วมเพศที่ไม่ได้ป้องกันหรือการคุมกำเนิดล้มเหลว ขนาดฮอร์โมนที่สูงอาจยับยั้งการตั้งครรภ์ได้[1] และจะออกฤทธิ์ดีที่สุดหากรับประทานหลังร่วมเพศทันทีหรือหลังจากนั้นประมาณ 72 ชั่วโมง

มียาคุมกำเนิดฉุกเฉินสามชนิด คือ ยาเม็ดเอสโตรเจนและโปรเจสตินผสม ยาเม็ดเฉพาะโปรเจสติน (ลีโวนอร์เจสเตรล) และยาเม็ดแอนติโปรเจสติน (ไมฟีพริสโทน)[2] ยาเม็ดเฉพาะโปรเจสตินและแอนติโปรเจสตินมีวางขายเป็นยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน[2][3] ส่วนยาเม็ดเอสโตรเจนและโปรเจสตินผสมไม่มีวางขายเป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแล้ว แต่ยาเม็ดคุมกำเนิดบางชนิดอาจใช้เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแทนได้[2]

อ้างอิง แก้

  1. Food and Drug Administration (FDA) (February 25, 1997). "Certain combined oral contraceptives for use as postcoital emergency contraception" (PDF). Federal Register. 62 (37): 8610–8612.
  2. 2.0 2.1 2.2 Trussell, James; Raymond, Elizabeth G.; Cleland, Kelly (February 2014). "Emergency contraception: a last chance to prevent unintended pregnancy" (PDF). Princeton: Office of Population Research at Princeton University, Association of Reproductive Health Professionals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ March 25, 2014.
  3. Gemzell-Danielsson, Kristina; Rabe, Thomas; Cheng, Linan (March 2013). "Emergency contraception—an update". Gynecological Endocrinology. 29 (Supplement 1): 1–14. doi:10.3109/09513590.2013.774591. PMID 23437846.