การคายน้ำ เป็นการแพร่ของน้ำออกจากใบของพืชโดยผ่านทางปากใบ ลำต้นและดอก โดยทั่วไปปากใบปิดเวลากลางคืนและเปิดในเวลากลางวัน การคายน้ำมีความสำคัญต่อพืชในด้านการควบคุมการเคลื่อนที่ของน้ำในพืช ทำให้น้ำเคลื่อนที่จากด้านล่างขึ้นไปด้านบนมากขึ้นเรื่อยๆ ควบคุมการดูดซึมธาตุอาหารของพืช เพราะธาตุอาหารที่พืชนำไปใช้ได้ต้องอยู่ในรูปที่ละลายน้ำ ทำให้อุณหภูมิของใบลดลง โดยลดความร้อนที่เกิดจากแสงแดดที่ใบ ในกรณีที่ในอากาศอิ่มตัวด้วยน้ำ มีความชื้นสูง การคายน้ำเกิดขึ้นได้น้อย แต่การดูดน้ำของรากยังเป็นปกติ พืชจะเสียน้ำในรูปของหยดน้ำเรียกว่ากัตเตชัน (guttation)พืชไม่สามารถคายน้ำในสภาพที่แดดจัดเพราะอาจเสียน้ำมากเกินไปและเหี่ยวก่อนที่รากจะลำเลียงน้ำได้ทัน [1]

ปากใบของมะเขือเทศที่ใช้ในการคายน้ำ ภาพแต่งสีจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

ตารางต่อไปนี้สรุปสิ่งที่มีผลต่อการคายน้ำ

ลักษณะ ผลต่อการคายน้ำ
จำนวนใบ การมีใบมากกว่าทำให้มีปากใบมากกว่า จึงสูญเสียน้ำมากขึ้นและเพิ่มพื้นที่ผิวสำหรับการระเหย
จำนวนปากใบ ปากใบที่มีมากขึ้นจะทำให้มีช่องสำหรับระเหยน้ำมากขึ้น
ชั้นคิวติเคิลของพืช ชั้นคิวติเคิลที่เป็นไขจะลดอุณหภูมิและลดอัตราการระเหยของน้ำออกจากใบ พบมากในพืชทนแล้ง
แสงสว่าง การมีแสงสว่างจะกระตุ้นการเปิดของปากใบ ยกเว้นพืชที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบแคม
อุณหภูมิ มีผลกระทบสามแบบคือ:

1) เพิ่มการคายน้ำเพราะอุณหภูมิสูงทำให้เสียน้ำมากขึ้น
2) ลดความชื้นสัมพัทธ์ด้านนอกของใบ
3) เพิ่มพลังงานให้กับอนุภาคของไอนน้ำและการแพร่ออกจากใบ

ความชื้นสัมพัทธ์ หากมีความชื้นต่ำจะเพิ่มการคายน้ำ
ลม ลมจะพัดชั้นของไอน้ำที่ปกคลุมผิวใบออกไป จึงเกิดการคายน้ำได้มากขึ้น
แหล่งน้ำ หากมีน้ำในดินน้อย การคายน้ำจะลดลง

อ้างอิง แก้

  1. Debbie Swarthout and C.Michael Hogan. 2010. Stomata. Encyclopedia of Earth. National Council for Science and the Environment, Washington, DC

แหล่งข้อมูลอื่น แก้