การกำจัดโรคโปลิโอ

การกำจัดโรคโปลิโอเป็นความพยายามทางสาธารณสุขระดับนานาชาติที่มีจุดมุ่งหมายกำจัดทุกกรณีของการติดเชื้อจากโปลิโอไมเยลิทิส (โปลิโอ) ให้หมดไปทั่วโลกอย่างถาวร ความพยายามนี้เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2531 นำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO), ยูนิเซฟ (UNICEF) และ มูลนิธิโรตารี[1] องค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ เช่นเดียวกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐ และมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์เป็นหัวหอกสำคัญผ่านทางการทำงานของโครงการริเริ่มกำจัดโรคโปลิโอสากล (GPEI) การกำจัดโรคติดต่อนี้สำเร็จมาแล้วสองครั้งในอดีต ครั้งแรกคือกับการกำจัดไข้ทรพิษ[2] และกับ โรครินเดอร์เปสต์[3]

เด็กคนหนึ่งในประเทศอินเดียกำลังรับวัคซีนโปลิโอในปี พ.ศ. 2545
ไวรัสโปลิโอ

การป้องกันการแพร่กระจายของโรคสามารถกระทำได้ด้วยการให้วัคซีน ซึ่งมีอยู่สองชนิดคือ วัคซีนโปลิโอทางปาก (OPV) ซึ่งให้เชื่้อไวรัสโปลิโอที่อ่อนแอแล้ว กับวัคซีนโปลิโอที่ยังไม่ถูกกระตุ้น (IPV) ซึ่งใช้การฉีดเข้าไป การให้วัคซีนด้วยวิธี OPV นั้นมีต้นทุนต่ำกว่าและสามารถทำได้โดยง่าย และสามารถนำไปสู่ภูมิคุ้มกันสัมผัส (contact immunity) จึงเป็นวัคซีนชนิดที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายที่สุด

โรคโปลิโอในปัจจุบันเกิดจากเชื้อโรคสองชนิดคือ ไวรัสโปลิโอชนิด 'ไวลด์' (WPV) และสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์จากชนิดวัคซีนให้ทางปาก เรียกว่า circulating vaccine-derived poliovirus (cVDPV) ในปี พ.ศ. 2562 มี 175 กรณีที่ตรวจพบว่าเป็นผู้ที่ติดเชื้อ WPV ทั่วโลก สูงสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 แต่ก็ถือว่าลดลง 76% จาก 719 กรณีที่ตรวจพบในปี พ.ศ. 2543 และลดลง 99.95% จากประมาณ 350,000 กรณีเมื่อเริ่มแรกโครงการกำจัดโปลิโอในปี พ.ศ. 2531 จากสามสายพันธุ์ของ WPV กรณีล่าสุดที่มีการบันทึกว่าเกิดจากเชื้อชนิด 2 (WPV2) เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542 และ WPV2 ได้รับการประกาศว่าถูกกำจัดสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 ส่วนชนิด 3 (WPV3) พบกรณีสุดท้ายที่เกิดโรคโปลิโอในปี พ.ศ. 2555 และได้รับการประกาศว่าถูกกำจัดเสร็จสิ้นแล้วในปี พ.ศ. 2562[4] จนถึงปัจจุบัน ไวรัสชนิด 1 (WPV1) ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่ปรากฎอยู่ วัคซีนซึ่งรักษาทั้งสามสายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างต้นได้นำไปสู่การเกิดขึ้นใหม่ของไวรัสชนิด cVDPV โดยมีสายพันธุ์สอง (cVDPV2) เป็นสายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุด ประเทศไนจีเรียเป็นประเทศล่าสุดที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้กำจัดการติดต่อของโปลิโอจากไวรัสโปลิโอชนิดไวลด์ในระดับโรคติดต่อได้สำเร็จ ด้วยกรณีผู้ป่วยล่าสุดพบในปี พ.ศ. 2559[5] ไวรัสโปลิโอชนิดไวลด์ถูกกำจัดหมดสิ้นแล้วในทุกทวีป ยกเว้นเพียงเอเชีย ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 มีสองประเทศที่ไวรัสโปลิโอยังคงเป็นโรคระดับท้องถิ่น (endemic) คือ ประเทศอัฟกานิสถาน และ ประเทศปากีสถาน[6][7]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ไนจีเรียได้ถูกนำออกจากรายชื่อประเทศที่ยังคงมีการระบาดระดับท้องถิ่นของไวรัสโปลิโอชนิดไวลด์ (endemic wild poliovirus) ทำให้เหลือเพียงสองประเทศบนโลกเท่านั้นคืออัฟกานิสถานและปากีสถาน[8] สองเดือนถัดมาคณะกรรมการรับรองระดับภูมิภาคแอฟริกา องค์กรอิสระที่แต่งตั้งโดยองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้ทวีปแอฟริกาปราศจากไวรัสโปลิโอชนิดไวลด์อย่างเป็นทางการ[5]

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำจัดโรคโปลิโอ แก้

การกำจัดโรคโปลิโอสามารถทำได้หลายทาง เพื่อหยุดการเกิดโรคนี้ในมนุษย์[9] และเพื่อให้ไวรัสโปลิโอสูญพันธ์ไป จนกระทั่งว่าไม่มีการติดเชื้อในธรรมชาติหรือในห้องทดลองอีกต่อไป in nature or in the laboratory,[10] นอกจากนี้ ยังต้องควบคุมการติดเชื้อโดยสังเกตการแพร่เชื้อของโรคที่จำกัดขอบเขตในพื้นที่เฉพาะ[9] และลดการอุบัติของโรคทั่วโลกจนเหลือศูนย์ ด้วยการร่วมมือของผู้คนอย่างเต็มใจจนไม่จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติม[11]

ในทางทฤษฎี ถ้ามีเครื่องมือที่เหมาะสม จะมีความเป็นไปได้ที่จะกำจัดโรคโปลิโอที่อาศัยเฉพาะในมนุษย์ และในความเป็นจริง ยังมีลักษณะทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตและปัจจัยทางเทคนิกหลายอย่างที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพกำจัดโรค ตัวชี้วัดสามอย่างถูกพิจารณาโดยความสำคัญในการตัดสินใจถึงความเป็นไปได้ของการกำจัดโรค วิธีการกำจัดโรคที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การหยุดยั้งตัวแพร่เชื้อ และการตรวจเชื้อที่อาจนำไปสู่พาหะ

อ้างอิง แก้

  1. "Polio Eradication". Global Health Strategies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 February 2016.
  2. "Smallpox [Fact Sheet]". World Health Organization (WHO). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2011. สืบค้นเมื่อ 9 November 2013.
  3. Ghosh P (14 October 2010). "Rinderpest virus has been wiped out, scientists say". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 14 October 2010.
  4. "GPEI-Two out of three wild poliovirus strains eradicated". สืบค้นเมื่อ 2 November 2019.
  5. 5.0 5.1 Scherbel-Ball, Naomi (2020-08-25). "Africa declared free of polio". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-08-25.
  6. "Endemic Countries - GPEI". สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
  7. https://www.who.int/health-topics/poliomyelitis
  8. Essien, Gloria (20 June 2020). "Stakeholders celebrate Nigeria's polio-free status". Voice of Nigeria. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-27.
  9. 9.0 9.1 Barrett S (2004). "Eradication versus control: the economics of global infectious disease policies" (PDF). Bull World Health Organ. 82 (9): 683–8. hdl:10665/269225. ISSN 0042-9686. PMC 2622975. PMID 15628206.
  10. Cockburn TA (April 1961). "Eradication of infectious diseases". Science. 133 (3458): 1050–8. Bibcode:1961Sci...133.1050C. doi:10.1126/science.133.3458.1050. PMID 13694225.
  11. Centers for Disease Control and Prevention (December 1993). "Recommendations of the International Task Force for Disease Eradication" (PDF). MMWR Recommendations and Reports. 42 (RR-16): 1–38. PMID 8145708.