กางเขนอนุราธปุระ

กางเขนอนุราธปุระ (อังกฤษ: Anuradhapura cross) เป็นรูปแบบหนึ่งของสัญลักษณ์กางเขนในศาสนาคริสต์ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของคริสต์ศาสนาในประเทศศรีลังกา[1][2][3]

สัญลักษณ์กางเขนอนุราธปุระ

สัญลักษณ์ แก้

กางเขนอนุราธปุระจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของกางเขนนักบุญธอมัส ซึ่งเป็นชนิดย่อยของกางเขนเนสเตอร์[nb 1] แต่ก็มีลักษณะเด่นบางประการ[2] ลักษณะสำคัญสามประการที่เหมือนกันกับกางเขนเนสเตอร์คือ "ใบไม้" ที่ฐาน ซึ่งแทน "ชีวพฤกษ์" ในพระคัมภีร์ไบเบิล, แขนแต่ละข้างของกางเขนมีปลายเป็นรูปไข่มุก ไข่มุกนี้เป็นธีมกลางของวรรณกรรมและประติมานวิทยาเพื่อการสักการะในคริสต์ศาสนาจารีตซีเรีย องค์ประกอบที่สามคือฐานสามขั้น ซึ่งแทนแดนสวรรค์ (paradise) สามชั้น, ชั้นสามชั้น (decks) ของหีบพันธสัญญา และขอบเขตทั้งสามของการยกรับเข้าสู่ไซนาย[5]

ประวัติศาสตร์ แก้

กางเขนอนุราธปุระขุดค้นพบครั้งแรกในปี 1912 ขณะการขุดค้นทางโบราณคดีในอนุราธปุระ[6] แกะสลักเป็นประติมากรรมอยู่บนด้านหนึ่งของชิ้นส่วนของเสาหินแกรนิต ผู้ว่าการรมโบราณคดีซีลอน (Archaeological Commissioner of Ceylon) เอ็ดเวิร์ด อาร์. อายร์ทัน สรุปว่ากางเขนนี้เป็กางเขนของโปรตุเกส ในปี 1924 ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ว่ากรม อาร์เธอร์ มอริส ฮอเกิร์ต ทุ่มความพยายามไปกับการหาความหมายของกางเขนนี้และตีพิมพ์ไว้ใน Memoirs of the Archaeological Survey of Ceylon ว่าสิ่งนี้เป็น "กางเขนชนิดฟลอเร็ต ตั้งบนฐานที่มีขั้น ที่ซึ่งล้อมรอบด้วยฟรอนด์ในแต่บะด้านของกางเขนดังเช่นเขา"[6] และยังคงสรุปว่าเป็นกางเขนของโปรตุเกส[1][6] ทั้งสองถือว่ากางเขนนี้เป็นกางเขนเนสเตอร์หรือกางเขนเปอร์เซียจากสมัยใต้ปกครองโปรตุเกส มีหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งที่เสนอว่าคริสต์จักรอัสซีเรียแห่งโกตะวันออกอาจจะมีอยู่ในศรีลังกามาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ห้าถึงหกแล้ว[7][8][9] จึงเป็นที่เข้าใจกันว่ากางเขนนี้มาจากสมัยราชอาณาจักรอนุราธปุระ[10] และสำหรับกลุ่มเชื่อว่าเป็นกางเขนของโปรตุเกส ก็มีข้อคัดค้านทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะที่ว่าในเวลานั้น ชาวโปรตุเกสยังไม่มาปรากฏอยู่ในนครอนุราธปุระด้วยซ้ำ[1]

การประเมินข้อสรุปในปี 1926 โดยฮัมฟรี คอดริงตัน โดยอ้างหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารจากศตวรรษที่ 6 Christian Topography ซึ่งระบุว่าเป็นที่ทราบกันว่ามีชุมชนคริสต์ชนชาวเปอร์เซียอาศัยอยู่ใน "Taprobanê" (ขื่อกรีกโบราณของศรีลังกา) เขาเขียนไว้ในหนังสือ A Short History of Ceylon ว่า "พวกเราทราบถึงการมีอยู่ของชุมชนชาวเปอร์เซีย ในเมื่อราว ค.ศ. 500; กางเขนเนสเตอร์ (Nestorian cross) ซึ่งแทบจะไม่ต้องสงสัยว่าเป็นของชุมชนนี้ สามารถพบ[จัดแสดง]อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของกรุงอนุราธปุระ"[11][12] ในปี 1954 รองผู้ว่าการกรมโบราณคดีในเวลานั้น ทิทัส เทเวนทระ (Titus Devendra) ปฏิเสธความน่าเชื่อถือของเอกสาร Christian Topography และรุบว่ากางเขนนี้เป็นของโปรตุเกส อายุใหม่กว่าปี 1547[13] Academics however have since concluded that the Christian Topography is historically accurate.[14] ในปี 1984 การค้นพบทางโราณคดีที่มานตาอียืนยันถึงการมีอยู่ของชุมชนคริสต์ชนชาวเปอร์เซียในศรีลังกา ซึ่งในการค้นพบครั้งนั้นยังพบตราที่มีลายของกางเขนเนสเตอร์ ซึ่งมีลักษณะและรูปแบบละม้ายคล้ายคลึงกับกางเขนอนุราธปุระเป็นอย่างมาก[15]

หมายเหตุ แก้

  1. St. Thomas Cross is considered as a Nestorian cross or a version of Nestorian cross[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Oswald Gomis, Emiretus (22 April 2011). "The Cross of Anuradhapura". Daily News. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
  2. 2.0 2.1 Pinto, Leonard (20 September 2013). "A Brief History Of Christianity In Sri Lanka". Colombo Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
  3. Antony, Thomas (29 February 2008). "Analogical review on Saint Thomas Cross- The symbol of Nasranis-Interpretation of the Inscriptions". Nasrani Syrian Christians Network. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
  4. "The cross". nestorian.org. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
  5. Mihindukulasuriya, Prabo (2012). The 'Nestorian' cross and the Persian Christians in the Anuradhapura Period. Colombo: Colombo Theological Seminary. p. 41.
  6. 6.0 6.1 6.2 A. M. Hocart, บ.ก. (1924). The Ratana Pãsãda, the Western Monasteries of Anuradhapura, Excavations in the Citadel, The so-called Tomb of King Duttagamani, Privy Stones. Archeological Department (Ceylon). pp. 51–52. ISBN 978-8-12-061093-4.
  7. "Mar Aprem Metropolitan Visits Ancient Anuradhapura Cross in Official Trip to Sri Lanka". Assyrian Church News. 6 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2015. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
  8. Weerakoon, Rajitha (26 June 2011). "Did Christianity exist in ancient Sri Lanka?". The Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 28 February 2015.
  9. "Main interest". Daily News. 22 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  10. "Pioneer of inter religious dialogue". Daily News. 28 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  11. Codrington, H. W. (1994). Short History of Ceylon. Asian Educational Services. p. 202. ISBN 9788120609464.
  12. Scott, Andrew (20 December 2009). "Christmas in ancient Sri Lanka". Sunday Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
  13. Devendra, Don Titus (1957). "The Date of the Anuradhapura Cross". Journal of the Royal Asiatic Society. Royal Asiatic Society. V: 85–96.
  14. D. P. M. Weerakkody (1997). Taprobanê: Ancient Sri Lanka as Known by Greeks and Romans (Indicopleustoi). Brepols Publishers. pp. 120–121. ISBN 978-2503505527.
  15. "Mar Aprem Metropolitan Visits Ancient Anuradhapura Cross in Official Trip to Sri Lanka". Assyrian Church News. 6 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2015. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้