กระบวนทัศน์ คือกลุ่มทฤษฎีที่มีการพัฒนาแนวคิดด้านการบริหารและการจัดการในศาสตร์นั้น ๆ โดยมีการรวบรวมแนวคิดทฤษฎีของนักทฤษฎีไว้ด้วยกัน และอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน อาจจะเป็นในทศวรรษเดียวกัน หรือทศวรรษต่อเนื่องกัน โดยนักทฤษฎีในกระบวนทัศน์นั้น ๆ จะไม่ขัดแย้งกัน มีเนื้อหาทฤษฎีที่มีการเกื้อหนุนกันในด้านการบริหารและการจัดการในศาสตร์นั้น ๆ และเมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีที่มีข้อเสนอที่ขัดแย้ง และมีความหลากหลาย เมื่อนั้นกระบวนทัศน์จะถูกล้มล้าง และจะก้าวเข้าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ หรือเรียกว่าการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ (paradigm shift) เช่น รัฐประศาสนศาสตร์มีการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์หลายขั้น[1]

อ้างอิง

แก้
  1. กฤษณ์ รักชาติเจริญ. (๒๕๕๗). การจัดการบริการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ(ประเทศไทย).