วัดห้วยปลาดุก

วัดในจังหวัดราชบุรี

วัดห้วยปลาดุก สังกัด มหานิกาย คณะสงฆ์ภาค 15 ตั้งอยู่บ้านห้วยปลาดุก เลขที่ 59 หมู่ 7 ตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70000ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2472 มีเนื้อที่ 23 ไร่

วัดห้วยปลาดุก
แผนที่
ที่ตั้งตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดห้วยปลาดุก สร้าง ปี พ.ศ. 2470 ความเป็นมาของวัดห้วยปลาดุก ตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นสถานที่ตั้งวัดห้วยปลาดุกในขณะนั้นติดต่อกับลำห้วยซึ่งมีปลาดุกมากชุกชุมมาก มีลำห้วยไหลผ่านซึ่งติดกับบ้านทุ่งไล่ไก่หนองน้ำแถบนี้ปลาดุกชุกชุมจึงเรียกขานกันต่อมาว่า “บ้านห้วยปลาดุก” หมู่บ้านห้วยปลาดุกกับหมู่บ้านทุ่งไล่ไก่อยู่ติดกันและอยู่ตำบลเดียวกัน

วัดห้วยปลาดุกเป็นวัดเล็กและมีกุฏิศาลาหลังเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 หลังเพื่อใช้ในการทำบุญทำกุศล ศาลาที่สร้างในสมัยนั้นสร้างด้วยไม้โดยญาติโยมช่วยกันหาไม้มาก่อสร้างเมื่อมีศาลาได้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ปีละ 3 รูป ไม่มีพระจะปกครองสงฆ์ ที่จำพรรษา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ได้เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่อาวุโสมาจากวัดข้างเคียง ท่านมีชื่อว่า "อาจารย์เชิด เตชวโร" มาปกครองดูแลสงฆ์ในขณะนั้น ถือว่าอาจารย์เชิด เดชวโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ปกครองสงฆ์ เมื่อท่านได้มาอยู่ที่วัดก็เริ่มพัฒนาวัดโดยการสร้างอุโบสถและถาวรวัตถุหลายอย่าง แต่ยังไม่แล้วเสร็จท่านได้จำพรรษาอยู่วัดห้วยปลาดุกในขณะนั้นเป็นเวลานานต่อมาท่านอายุมากร่างกายชราภาพลงท่านก็ได้มรณภาพลง

เมื่อท่านอาจารย์เชิด เดชวโร ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์และชาวบ้านได้เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่อาวุโส มาดูแลวัดและพระภิกษุสงฆ์ ท่านมีชื่อว่า “พระอธิการพันธ์ ครุฑน้อย” ท่านพระอธิการพันธ์ ครุฑน้อยได้จำพรรษาอยู่ที่วัดไม่นานเท่าใดท่านก็มรณภาพลง

เมื่อท่านพระอธิการพันธ์ ครุฑน้อย ได้มรณภาพลงทางคณะสงฆ์และชาวบ้านได้เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่อาวุโส มาดูแลวัดและพระภิกษุสงฆ์ ท่านมีชื่อว่า "พระอาจารย์เจือน อาจารสมฺปนฺโน" จากวัดห้วยไผ่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยปลาดุก ในขณะที่ท่านอาศัยและจำพรรษาอยู่ที่วัดท่านอาจารย์มีความคิดที่จะสร้างอุโบสถ ท่านจึงทำเรื่องการสร้างอุโบสถ และขอพัทธสีมา มายังกรมการศาสนา เห็นความจำเป็นจึงอนุญาตให้ที่ดิน ในวัดเพื่อสร้างอุโบสถ เมื่อทางกรมศาสนาอนุญาตแล้วการสร้างอุโบสถดำเนินไปโดยลำดับและทำการปิดทองผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตในสมัยหลวงพ่อเจือน อาจารสมฺปนฺโน

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  • พระอาจารย์เชิด เดชวโร
  • พระอธิการพันธ์ ครุฑน้อย
  • พระครูอมรธรรมรัต (เจือน อาจารสมฺปนฺโน) พ.ศ. 2492-พ.ศ. 2540
  • พระปลัดบรรจง จนฺทปญฺโญ พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน

ศาสนสถานภายในวัด แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้