Transmission voie-machine(TVM) เป็นระบบอาณัติสัญญาณไว้ใช้สำหรับในการควบคุมรถไฟความเร็วสูงซึ่งใช้ในประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อังกฤษ และเกาหลีใต้ โดยเป็นระบบที่แสดงผลในบริเวณหน้าคนขับ ซึ่งรุ่นแรกที่ถูกนำออกมาใช้คือ TVM-300 ซึ่งต่อมาถูกพัฒนาเป็นรุ่น TVM-430 ซึ่งสามารถใช้งานได้ที่ความเร็วสูงสุด 430 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ป้าย TVM Block Marker ป้ายสุดท้ายก่อนเข้าสู่สถานี Marne-la-Vallée-Chessy(ดิสนีย์แลนด์)ในปารีส

ที่มา

แก้
 
ป้าย TVM Block Marker

เนื่องด้วยระบบอาณัติสัญญาณควบคุมรถไฟแบบเก่านั้นจะอาศัยสัญญาณไฟรวมทั้งป้ายเพื่อที่จะควบคุมให้รถไฟอยู่ในความเร็วที่ต้องการ แต่ต่อมาเมื่อการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในประเทศฝรั่งเศสทำให้เกิดอุปสรรค์สำคัญคือระบบอาณัติสัญญาณแบบเก่านั้นผู้ควบคุมรถไฟไม่สามารถมองเห็นป้ายหรือสัญญาณไฟได้ชัดเจนเนื่องจากรถไฟมีความเร็วสูงเกินที่จะเห็นภาพที่ชัดเจนได้[1] ดังนั้นในประเทศฝรั่งเศสจึงมีการพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณใหม่โดยมีการแสดงคำสั่งไว้ที่แผงควบคุมเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถมองเห็นและควบคุมรถไฟได้ถูกต้องโดยใช้ร่วมกับป้ายซึ่งมีแบบเดียวบนรางรถไฟความเร็วสูงเท่านั้นที่มีชื่อเรียกว่า TVM Block Marker ซึ่งเป็นตัวกำหนดร่วมกับคำสั่งที่แสดงในขบวนรถว่ารถไฟจะวิ่งด้วยความเร็วเท่าไรในส่วนนี้

ระบบ

แก้

ใน TVM จะประกอบด้วยสามส่วนหลักๆคือ ระบบรับข้อมูล ระบบประมวลผลข้อมูล และระบบแสดงข้อมูลบนตัวรถไฟ

ระบบรับข้อมูล

แก้

ระบบจะส่งพิกัดตำแหน่งของรถไฟเพื่อที่จะคำนวณหาความเร็วที่มากที่สุดที่จะวิ่งได้โดยใช้เซนเซอร์ที่อยู่บนพื้นรางรถไฟเป็นตัวกำหนดตำแหน่งของรถไฟแล้วส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลโดยการส่งข้อมูลนี้จะมีโค้ดอยู่ 7 แบบเพื่อบอกให้ทราบว่ารถไฟวิ่งอยู่เส้นทางอะไร

Code เส้นทางรถไฟ
0
1 LGV Sud-Est (LN1)
2 LGV Atlantique (LN2)
3 Channel Tunnel
4 LGV Est (LN6)
5 High Speed 1 (อังกฤษ)
6 LGV1 (เบลเยียม)
7 อื่นๆ

การประมวลผลข้อมูล

แก้

เมื่อข้อมูลที่มีขนาด 27 บิต จะถูกเข้ารหัสเพื่อจะนำไปประมวลผลโดยในชุดประมวลผลนั้นจะประมวลผลในเรื่องต่อไปนี้

  • Speed Code เป็นตัวบอกว่าตอนนี้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วเท่าไร
  • ตำแหน่ง เป็นตัวข้อมูลที่ใช้สำหรับคำนวณความเร็ว
  • ระยะทางระหว่าง Block เป็นตัวสำคัญที่ใช้คำนวณความเร็วที่ปลอดภัยใน Block ถัดไป
  • Network Code เป็นตัวกำหนดว่ารถไฟวิ่งอยู่ในเส้นทางไหน เพื่อคำนวณความเร็วให้แม่นยำเพราะในบางเส้นทางใช้ความเร็วแตกต่างจากปกติ เช่น ในอุโมงค์ข้ามช่องแคบอังกฤษที่รถไฟยูโรสตาร์ต้องวิ่งที่ความเร็ว 160 km/h
  • Error Checking

โดยเมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วจะส่งข้อมูลกลับไปยังขบวนรถเพื่อแสดงผล

ระบบแสดงผล

แก้

เมื่อได้รับคำสั่งแล้ว ระบบ TVM จะทำการแสดงผลที่หน้าจอของรถไฟเป็นเครื่องหมาย สี หรือ ตัวเลข เพื่อที่จะให้พนักงานขับรถไฟเข้าใจคำสั่งของระบบและปฏิบัติได้ถูกต้องโดยการแสดงผลจะใช้สีเหลืองหรือสีเขียวเท่านั้น ส่วนหน้าจอแสดงคำสั่งของระบบจะอยู่บริเวณหน้าหรือเยื้องคนขับซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น

ระบบการแสดงผลด้านความเร็ว

แก้

ระบบแสดงผลโดยใช้สี ตัวเลข และไฟกะพริบ เพื่อที่จะให้คนขับได้ทราบความเร็วที่ระบบคำนวณแล้วว่าปลอดภัยดังตาราง[2][3]

การแสดงผลของสัญญาณ
ชื่อ
สัญญาณ
ความเร็วสูงสุด
ความเร็วปัจจุบัน
Penalty brake from
ยกเว้นที่ความเร็ว
Rouge

(หยุด)

 
F marker: 30 km/h
35 km/h
0 km/h หรือ 30 km/h
(Nf หรือ F marker)
Nf marker: 0 km/h
Zéro

(Avertissement 0; หยุดในสัญญาณคำสั่งหน้า)

 
คำสั่งก่อนหน้า = 80A: 80 km/h
90 km/h
คำสั่งก่อนหน้า = 160A: 160 km/h
170 km/h
080E

(Exécution 80; ห้ามใช้ความเร็วเกิน 80 km/h)

 
80 km/h
90 km/h
80 km/h
080A

(Avertissement 80, ให้ลดความเร็วลงต่ำกว่า 80 km/h )

 
160 km/h
170 km/h
160E

(Exécution 160, ห้ามใช้ความเร็วเกิน 160 km/h)

 
160 km/h
160A

(Avertissement 160; ให้ลดความเร็วลงต่ำกว่า 160 km/h )

 
220 km/h
235 km/h
220E

(Exécution 220; ห้ามใช้ความเร็วเกิน 220 km/h)

 
220 km/h
220A

(Avertissement 220; ให้ลดความเร็วลงต่ำกว่า 220 km/h)

 
270 km/h
285 km/h
270V
 
270 km/h
270VL (Voie Libre 270 km/h; ให้ใช้ความเร็วสูงสุด 270 km/h)
 
270A (Avertissement 270; ให้ลดความเร็วลงต่ำกว่า 270 km/h)
 
300 km/h
315 km/h
300V
 
300 km/h
300VL (Voie Libre 300 km/h; .ให้ใช้ความเร็วสูงสุด 300 km/h)
 
 
ห้องคนขับของ TGV Réseau ซึ่งระบบจะแสดงผลด้านหน้าคนขับ

คำสั่งลดความเร็ว

แก้

เมื่อเราต้องการลดความเร็วของรถไฟลงจากความเร็วปกติ ระบบ TVM จะสั่งให้รถไฟค่อยๆลดความเร็วลงจากความเร็วขณะนั้นจนถึงความเร็วที่ต้องการ[4] ตัวอย่าง

  • ต้องลดความเร็วลงเหลือ 160 km/h ในอุโมงค์หรือสถานีบางแห่งจะจำกัดความเร็วรถไฟที่วิ่งผ่านเพื่อความปลอดภัยต่อตัวรถโดยระบบจะสั่งคำสั่งให้รถไฟลดความเร็วจากความเร็วสูงสุดดังนี้

300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 160E , 160VL

  • ต้องลดความเร็วลงต่ำกว่า 80 km/h ในกรณีที่รถไฟเข้าบริเวณที่มีการก่อสร้าง ทำให้กระทบต่อการใช้ความเร็วระบบจะมีการสั่งเพื่อให้รถไฟลดความเร็วจากความเร็วสูงสุดดังนี้

300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 80A , 80E โดยหลังจากนี้ในบริเวณเขตก่อสร้างจะปักป้ายที่รถไฟใช้ความเร็วสูงสุดได้

  • ต้องหยุดรถ ระบบจะสั่งให้รถไฟลดความเร็วลงดังนี้

300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 80A , Zéro , Rouge โดยเมื่อรถไฟหยุดแล้วอาจมีคำสั่งอื่นให้ปฏิบัติตาม

  • ต้องหยุดรถ เพื่อเข้าจอดในสถานีใหญ่ เนื่องจากในสถานีรถไฟใหญ่ๆ ไม่ได้มีการนำระบบ TVM มาใช้ เนื่องจากมีรถไฟหลายแบบที่เข้าจอดในสถานีนั้น เช่น RER , TER ซึ่งใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบอื่น ดังนั้น ระบบจะสั่งดังนี้

300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 160E โดยหลังจากนี้ รถไฟจะใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบเดียวกับรถไฟท้องถิ่นในกาารเข้าจอดที่สถานี

หมายเหตุ , แทน Block Marker

การนำไปใช้

แก้

ฝรั่งเศส

แก้

ในฝรั่งเศสได้นำระบบ TVM ไปใช้กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูง(LGV) ทุกสาย ซึ่ง TGV ทุกรุ่นสามารถรองรับระบบอาณัติสัญญาณนี้ได้ โดยในช่วงแรกได้นำ TVM-300 มาใช้ในการควบคุมความเร็วรถไฟเนื่องจากในสมัยก่อนรถไฟมีความเร็วสูงสุด 270 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ต่อมาก็ได้ใช้รุ่น TVM-430 ทุกขบวน ส่วนการนำไปใช้บนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงนั้นจะใช้กับบนเส้นทางและสถานีที่สร้างใหม่ ส่วนสถานีเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น Gare du Nord เป็นต้น จะอาศัยระบบอาณัติสัญญาณที่ใช้ร่วมกับ RER , TER หรือ Intercités เพื่อที่จะจอดในสถานีหลักได้

เบลเยียม

แก้

ใน High Speed Line 1 (LN1) ได้มีการนำระบบ TVM ไปใช้ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ LGV Nord ในฝรั่งเศส และ เส้นทางรถไฟจากช่องแคบอังกฤษ โดย LN1 นี้จะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟบรัสเซลล์ใต้ (Brussel Zuid/Midi) ส่วนเส้นทางที่เหลือในเบลเยียมได้ใช้ระบบ ETCS เป็นระบบอาณัติสัญญาณ

อังกฤษ

แก้

ได้นำระบบไปใช้กับอุโมงค์ลอดช่องแคบอังกฤษและเส้นทางรถไฟ High Speed 1 โดยในอังกฤษนี้ TVM จะถูกแบ่งเป็นสองช่วง โดยในช่วงแรกนั้นสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนช่วงที่สองใช้ความเร็วได้ 230 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะมีการใช้ระบบ AWS(Automatic Warning System) ร่วมด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.geocities.ws/railsthai/tgv.htm
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-29.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-29.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-02.