รขมาบาอี

(เปลี่ยนทางจาก Rukhmabai)

รขมาบาอี (มราฐี: रखमाबाई; rakhamābāī, ทับศัพท์เป็น Rukhmabai, 22 พฤศจิกายน 1864 – 25 กันยายน 1955) เป็นแพทย์และนักสิทธิสตรีชาวอินเดีย เป็นหนึ่งในแพทย์หญิงคนแรก ๆ ของอินเดียยุคอาณานิคม เธอเป็นศูนย์กลางของคดีความว่าด้วยการที่เธอถูกบังคับสมรสเมื่ออายุยังน้อย ซึ่งการตัดสินคดีในครั้งนั้นนำไปสู่การผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่สามารถแต่งงานได้ในปี 1891[1][2]

รขมาบาอี
เกิด22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1864(1864-11-22)
เสียชีวิต25 กันยายน ค.ศ. 1955(1955-09-25) (90 ปี)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ลอนดอนสำหรับสตรี; โรงพยาบาลรอยัลฟรี
อาชีพแพทย์, นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี

บาล คงคาธร ติลก เคยเขียนถึงเธอในหนังสือพิมพ์ เกสารี ว่าความพยายามของรขมาบาอีนั้นเป็นผลมาจากการที่เธอได้รับการศึกษาจากอังกฤษ และประกาศว่าศาสนาฮินดูกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการกระทำของเธอ[3]

รขมาบาอีจบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตในปี 1894 จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ลอนดอนสำหรับสตรี โดยเธอศึกษาที่โรงพยาบาลรอยัลฟรี เธอเป็นสตรีชาวอินเดียคนที่สามที่จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต โดยสตรีชาวอินเดียสองคนแรกที่จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตคือกทัมพินี คังคุลี และ อนันทิ โคปาล โชษี ในปี 1886[4] แต่มีเพียง พญ. คังคุลี เท่านั้นที่ประกอบอาชีพแพทย์ต่อ ฉะนั้น รขมาบาอีจึงเป็นแพทย์หญิงที่มีวุฒิแพทยศาสตร์บัณฑิตคนที่สองของอินเดีย[5] ในปี 1895 เธอเดินทางกลับอินเดียและเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสุรัต จากนั้นย้ายไปประจำอยู่ที่โรงพยาบาลสตรีของรัฐในเมืองราชโกตจนเกษียณอายุในปี 1929 ระหว่างนั้นเธอได้ตั้งสภากาชาดประจำราชโกต หลังเกษียณเธอย้ายไปอาศัยอยู่ที่บอมเบย์[6] และได้ตีพิมพ์ใบสนเท่ห์ในชื่อ "ปูรดาห์: ความจำเป็นที่ต้องยกเลิกมัน" ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านธรรมเนียมที่ไม่ให้หญิงม่ายมีส่วนร่วมในสังคมอินเดียได้ตามปกติ[6][7] เธอเสียชีวิตด้วยวัย 90 ปี ในปี 1955

บางครั้ง เธอมักถูกเรียกด้วยชื่อและนามสกุลว่า รขมาบาอี ราวต์ (มราฐี: रखमाबाई सावे; Rukhmabai Raut) เช่นในปี 2017 ซึ่งกูเกิล ดูเดิลแสดงภาพเธอ[8] อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเธอเบือกใช้นามสกุลของบิดาเธอ, บิดาบุญธรรม หรือแม้แต่สามีแรกของเธอ ในเอกสารการแพทย์ของเธอปรากฏเพียงชื่อ "รขมาบาอี" เท่านั้น[9] รวมถึงชื่อที่เธอขึ้นทะเบียนต่อแพทยสมาคมก็เป็นเพียง "รขมาบาอี" เท่านั้น[10]

อ้างอิง แก้

  1. Chandra, Sudhir (1996). "Rukhmabai: Debate over Woman's Right to Her Person". Economic and Political Weekly. 31 (44): 2937–2947. JSTOR 4404742.
  2. Burton, Antoinette (1998-03-30). At the Heart of the Empire: Indians and the Colonial Encounter in Late-Victorian Britain (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. ISBN 978-0-520-91945-7.
  3. "Google doodle for Rukhmabai Raut, but India's first woman doctor Kadambini Ganguly remains forgotten". 23 November 2017. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  4. Jovita Aranha (2017-08-31). "The Phenomenal Story of Kadambini: One of India's First Women Graduates & Doctors". สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
  5. 6.0 6.1 Rappaport, Helen (2001). Encyclopedia of Women Social Reformers (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. p. 599. ISBN 9781576071014.
  6. Sorabji, Richard. Opening Doors: The Untold Story of Cornelia Sorabji, Reformer, Lawyer and Champion of Women's Rights in India.
  7. Rukhmabai Raut’s 153rd Birthday - Google - 22 November 2017
  8. Rukhmabai; Bennett, B. H. (May 1909). "A Case of Myxoma". The Indian Medical Gazette. 44 (5): 180. ISSN 0019-5863. PMC 5167930. PMID 29005240.
  9. "Medical Register: Untraceable Practitioners". The Lancet. 198 (5118): 732–734. 1921. doi:10.1016/S0140-6736(01)22801-3.