กฎการแผ่รังสีความร้อนของเคียร์ชฮ็อฟ

(เปลี่ยนทางจาก Kirchhoff's law of thermal radiation)

กฎการแผ่รังสีความร้อนของเคียร์ชฮ็อฟ (เยอรมัน: Kirchhoffsches Strahlungsgesetz) เป็นกฎของการถ่ายเทความร้อน ที่เสนอโดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ ในปี 1859 ใช้เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสภาพเปล่งรังสี และ อัตราการดูดกลืนรังสีของวัตถุ

การแนะนำ แก้

โดยทั่วไป แบบจำลองวัตถุดำ ที่ใช้ในการศึกษาด้านรังสีถือว่ามีอัตราส่วนการดูดกลืนแสงเท่ากับ 1 ( ) ในขณะที่อัตราส่วนการดูดกลืนแสงของวัตถุในความเป็นจริงจะมีค่าน้อยกว่า 1 แต่มากกว่า 0 (นั่นคือ  ) กฎการแผ่รังสีความร้อนของเคียร์ชฮ็อฟให้ความสัมพันธ์ระหว่างความเปล่งรังสี และอัตราส่วนการดูดกลืนแสงของวัตถุจริง โดยค่าอัตราส่วนการดูดกลืนแสงเป็น

 

ในที่นี้   คือความเปล่งรังสีของวัตถุ ส่วน   คือรังสีที่ปล่อยออกมาจากวัตถุดำที่อุณหภูมิเดียวกัน

และค่าสภาพเปล่งรังสี   จะได้เป็น

 

ดังนั้นจะได้ว่า

 

ดังนั้นภายใต้สภาวะสมดุลทางความร้อน อัตราส่วนการดูดกลืนของวัตถุต่อการแผ่รังสีความร้อนจะเท่ากับค่าการแผ่รังสีที่อุณหภูมิเดียวกัน

การเขียนแสดงในรูปต่าง ๆ แก้

สำหรับสเปกตรัมในทิศทางหนึ่ง ๆ กฎการแผ่รังสีความร้อนของเคียร์ชฮ็อฟแสดงได้เป็น

 

โดย   คือมุมละติจูด   คือมุมลองจิจูด   คือความยาวคลื่นของสเปกตรัม และ   คืออุณหภูมิ

สำหรับสเปกตรัมของบริเวณครึ่งทรงกลม กฎการแผ่รังสีความร้อนของเคียร์ชฮ็อฟเขียนได้เป็น