โรงพยาบาลเทพารักษ์
โรงพยาบาลเทพารักษ์ เป็นโรงพยาบาลหลักของอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ใช้พื้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอเทพารักษ์มีขนาดพื้นที่ 27 ไร่ 3 งาน 62 ตารางวา[2]
โรงพยาบาลเทพารักษ์ | |
---|---|
Theparak Hospital | |
ประเภท | โรงพยาบาลชุมชน (F3)[1] |
ที่ตั้ง | เลขที่ 222 หมู่ 14 ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา 30210 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2556 |
สังกัด | กระทรวงสาธารณสุข |
ผู้อำนวยการ | นพ.นพพงษ์ พงศ์เลิศโกศล |
จำนวนเตียง | 30 เตียง[1] |
เว็บไซต์ | https://www.tplhos.com |
ประวัติโรงพยาบาล
แก้อำเภอเทพารักษ์ จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ในชื่อกิ่งอำเภอสำนักตะคร้อ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 แต่ยังไม่มีโรงพยาบาลประจำอำเภอ เมื่อมีความจำเป็นในด้านการรักษาพยาบาลต้องเดินทางไปใช้บริการโรงพยาบาลที่อำเภอข้างเคียง ชาวอำเภอเทพารักษ์จึงมีความต้องการให้มีโรงพยาบาลประจำอำเภอขึ้น
- ปี พ.ศ. 2546 ท่านหลวงพ่อแช่ม (เจ้าอาวาสวัดสำนักตะคร้อ) หลวงพ่องาม และหลวงพ่อช้อย ได้บริจาคเงินรูปละ 100,000 บาท เพื่อเป็นกองทุนเริ่มต้นสำหรับการสร้างโรงพยาบาล
- ปี พ.ศ. 2547 ทางบริษัทโอสถสภา และวงดนตรีเสียงอีสาน เปิดการแสดงสามครั้ง มอบเงินรายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 200,000 กว่าบาท ให้กับโรงพยาบาลเทพารักษ์
- ปี พ.ศ. 2548 ชาวอำเภอเทพารักษ์ได้จัดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคี โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนายพงศ์โพยม วาศภูติ มาเป็นประธานได้เงินประมาณ 700,000 กว่าบาท
- ปี พ.ศ. 2555 กระทรวงสาธารณสุข ได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงงบประมาณ 9,684,000 บาทโดย
วันที่ 1 เมษายน 2556 ได้เปิดให้บริการครั้งแรก โดยมี พญ. ต้องตา ชนยุทธ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลด่านขุนทดในขณะนั้น) เป็นผู้อำนวยการท่านแรก[2]
รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทพารักษ์
แก้ทำเนียบรายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลเทพารักษ์[2] | ||
---|---|---|
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. พญ.ต้องตา ชนยุทธ | 1 เมษายน 2556 - 1 พฤษภาคม 2557 | |
2. นพ.ศุภชัย ครบตระกูลชัย | 2 พฤษภาคม 2557 - 1 ธันวาคม 2557 | |
3. พญ.ต้องตา ชนยุทธ | 2 ธันวาคม 2557 - 31 กรกฎาคม 2559 | ครั้งที่ 2 |
4. นพ.นพพงษ์ พงศ์เลิศโกศล | 1 สิงหาคม 2559 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ข้อมูลโรงพยาบาลเทพารักษ์" (PDF). เขตสุขภาพที่ 9 หน้าที่ 60.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "ประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลเทพารักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-05. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05.