เหตุระเบิดในสตอกโฮล์ม พ.ศ. 2553

เหตุระเบิดในสต็อกโฮล์ม พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เมื่อระเบิดสองลูกเกิดระเบิดขึ้น ณ ใจกลางกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งส่งผลให้มือระเบิดเสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกสองคน[1][2][3][4][5] ขณะที่คาร์ล บิลต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนและหน่วยความมั่นคงแห่งชาติสวีเดน (SÄPO) ได้เรียกเหตุระเบิดดังกล่าวว่าเป็นพฤติการณ์ก่อการร้าย[3][6]

ตำรวจปิดถนนดร็อตนิงกาตันหลังจากเกิดระเบิดขึ้นที่หัวมุมถนนที่ติดกับถนนบรีกการ์กาตัน

เทมัวร์ อับเดลวาฮับ อัล-อับดาลี พลเมืองสวีเดนที่เกิดในประเทศอิรัก เป็นผู้ต้องสงสัยว่าอาจเป็นมือระเบิด[7][8][9] บรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพนอร์เวย์ได้อธิบายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการโจมตีฆ่าตัวตายครั้งแรกที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายอิสลามในกลุ่มนอร์ดิก[10] ถึงแม้ว่าพลเมืองสวีเดนจะเคยก่อเหตุโจมตีฆ่าตัวตายมาแล้วในต่างประเทศ[11]

เหตุระเบิด แก้

เหตุระเบิดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16.48 น. ตามเวลายุโรปกลาง เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ระเบิดขึ้นที่แยกโอลอฟ พาลเมส กาตา และถนนดร็อตนิงกาตัน[1] ตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงพบว่า รถดังกล่าวมีขวดบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวหลายขวดซึ่งส่งผลให้เกิดการระเบิดขึ้นอีกหลายครั้ง[1] มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 2 คนในบริเวณที่เกิดเหตุระเบิดและได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล[3]

เหตุระเบิดครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลาราว 17.00 น. ตามเวลายุโรปกลาง ที่ทางแยกของถนนบรีกการ์กาตันและดร็อตนิงกาตัน[1] พบร่างของชายซึ่งแรงระเบิดได้ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อช่วงท้องในพื้นที่ใกล้เคียง ข้อมูลของโฆษกตำรวจระบุว่าชายคนดังกล่าวได้ระเบิดตัวเอง[1] อาฟตันบลาเด็ทระบุว่า ชายคนดังกล่าวได้พกพาท่อระเบิดจำนวนหกท่อ แต่พบว่ามีเพียงหนึ่งท่อเท่านั้นที่เกิดระเบิดขึ้น แรงระเบิดทำให้ชายดังกล่าวเสียชีวิต[2] ใกล้กับร่างของชายคนดังกล่าวพบท่อโลหะและกระเป๋าสะพายหลังซึ่งภายในบรรจุด้วยที่ยึดโลหะหลายชิ้นและสสารไม่ทราบชนิดซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุระเบิด[12] พยานอ้างว่ามือระเบิด "ตะโกนอะไรบางอย่างเป็นภาษาอารบิก" ก่อนที่จะจุดระเบิดซึ่งทำให้ตนเองเสียชีวิต[13]

เวลาเดียวกับที่เกิดการระเบิดขึ้น ใจกลางกรุงสต็อกโฮล์มยังเต็มไปด้วยชาวเมืองที่ออกมาจับจ่ายซื้อของในเทศกาลคริสต์มาส และมีประชาชนหลายพันคนอยู่ในระแวกใกล้เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนแสดงความกังวลว่าหากการโจมตีดังกล่าวประสบความสำเร็จ ผลที่ตามมาก็จะเป็น "ความหายนะใหญ่หลวงอย่างแท้จริง"[3]

เหตุระเบิดดังกล่าวมีขึ้นหลังจากมีระดับการเตือนการก่อการร้ายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาในสวีเดน เนื่องจากมี "การเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมของกลุ่มก่อการร้ายในสวีเดน" ซึ่งสามารถวางแผนการโจมตีได้[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Hanson, Matilda E.; Håkansson, Catarina (11 December 2010). "Man sprängde sig själv i Stockholm". Svenska Dagbladet (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 11 December 2010.
  2. 2.0 2.1 Svahn, Clas (11 December 2010). "Man död efter explosioner i centrala Stockholm". Dagens Nyheter (ภาษาสวีเดน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-20. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Nyberg, Per (12 December 2010). "Explosions in Stockholm believed to be failed terrorist attack". CNN. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  4. 4.0 4.1 "Stockholm blasts kill one and injure two". BBC. 11 December 2010. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  5. Anderson, Christina; Bursh, John F. (11 December 2010). "Stockholm Hit by Blasts After E-Mail Warning". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  6. Landes, David (12 December 2010). "Stockholm suicide blast a terror attack: police". The Local. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  7. Borger, Julian (12 December 2010). "Stockholm bombing: authorities ponder impossibility of policing lone jihadists". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  8. Gardham, Duncan; Oscarsson, Marcus; Hutchison, Peter (12 December 2010). "Sweden suicide bomber: Taimur Abdulwahab al-Abdaly was living in Britain". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  9. Paige, Jonathan (12 December 2010). "Stockholm suicide bomber: Taimour Abdulwahab al-Abdaly profile". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 December 2010.
  10. Sears, Neil; Bentley, Paul (13 December 2010). "Suicide bomber lived in Britain: Islamic fanatic in Stockholm car blast was radicalised while studying in Luton". Mail Online. สืบค้นเมื่อ 13 December 2010.
  11. "Första självmordsbombaren i Norden - Rapport SVT Play". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-15. สืบค้นเมื่อ 2010-12-17.
  12. Nises, Erik (11 December 2010). "Man sprängde sig själv med bomber". Aftonbladet (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 11 December 2010.
  13. "Man sprängde sig själv". Aftonbladet (ภาษาสวีเดน). 12 December 2010. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.