เสาเบอลันจง หรือ เสาบลันจง (อักษรโรมัน: Belanjong หรือ Blanjong) เป็นเสาที่สร้างขึ้นในปี 914 อยู่ที่อ่าวเบอลันจง ทางตอนใต้ของซานูร์ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เสานี้ตั้งขึ้นโดยศรีเกสารีวรรมเทวะ ปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์วรรมเทวะของบาหลี เนื้อหาบนจารึกประกอบด้วยการบอกเล่ายุทธการของกษัตริย์ในการยึดครองเกาะ ปัจจุบันเสาเบอลันจงยังอยู่ตรงจุดที่ค้นพบ และมีการสร้างวิหารปิดขึ้นล้อมรอบ โดยทั่วไปมักจะมีเครื่องถวายหรือผ้าห่อพันรอบเสา เสานี้ค้นพบในปี 1932[2]

เสาเบอลันจง
เสาเบอลันจงในซานูร์
วัสดุหินแอนดีไซต์
ตัวหนังสืออักษรปรนาครีเป็นภาษาสันสกฤตและบาหลีเก่า
สร้าง4 กุมภาพันธ์ 914 CE[1]
ค้นพบเบอลันจง ซานูร์ตอนใต้ บาหลี อินโดนีเซีย

จารึกที่พบเขียนโดยใช้ภาษาสันสกฤตของอินเดีย และภาษาบาหลีเก่า โดยใช้อักษรนาครีและอักษรบาหลีเก่า[3] อักษรบาหลีเก่ายุคกก่อนนาครีเขียนอยู่บนด้านหนึ่งของเสา ส่วนอีกด้านเป็นจารึกภาษาสันสกฤตที่ใช้อักษรชวาเก่าที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ หรือที่เรียกว่าอักษรกวี[4][5]

วันที่ในจารึกใช้ระบบศกะ โดยระบุวันที่จารึกคือวันที่เจ็ด ข้างขึ้น (สปตามยามฺสิต; 'saptāmyāṁ sita') เดือน ผัลคุณ (Phalguna) ปี ศกะ ที่ 835 ตรงกับ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 914 ตามที่คำนวณโดย ลุยส์ ชาลส์ ดาแมส์ (Louis-Charles Damais)[6][1]

จารึกส่วนใหญ่เสียหายอย่างหนัก ทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนใหญ่ของจารึก ในเนื้อหามีการระบุถึงเกาะบาหลีอย่างชัดเจน โดยเรียกว่า "วาลีทวีป" (B.2) การใช้เสียง ว และ บ แทนกันพบได้ทั่วไปในภาษาของบาหลี ในจารึกยังมีการกล่าวถึง "วังสิงหทวาล" หรือ "สิวหทวาลปุเร" (siṅhadvāla-pure, A.3) นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นวังสิงหามณฑปที่ปรากฏในจารึกยุคก่อน ๆ ชองบาหลี[7] จารึกยังมีบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จในการยุทธ์ต่อสู้กับศัตรูในสองพื้นที่ คือ กูรุน (Gurun) กับ สุวัล (Suwal) (A.5) ชทุทเทอไฮม์ (Stutterheim) เสนอว่าน่าจะหมายถึงเกาะนอกชายฝั่งบาหลี โดยกูรุนน่าจะหมายถึงเกาะนุสาเปนิดา ส่วนกอริส (Goris) เชื่อว่าเป็นเกาะลมบก ส่วนสุวัลน่าจะเป็นหาดเกเตเวลทางใต้ของสุขาวดีในอำเภอกิอันยาร์[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Louis-Charles Damais (1959) "Ouvrages d'Études Indonésiennes", Bulletin d'École française d'Extrême-Orient, 49, 2, pp. 685-686.
  2. Bali handbook with Lombok and the Eastern Isles Liz Capaldi, p. 98
  3. Haer, p. 275
  4. A short history of Bali by Robert Pringle p. 46
  5. The people of Bali Angela Hobart p. 141
  6. Louis-Charles Damais (1947) Études balinaises: I. La colonnette de Sanur p. 127
  7. A.J. Bernet Kempers (1991) Monumental Bali: Introduction to Balinese Archaeology & Guide to the Monuments. Berkeley, Singapore: Periplus Editions. p. 35-36 [1]
  8. I Wayan Ardika (2015) "Blanjong: An Ancient Port Site in Southern Bali, Indonesia" in Form, Macht, Differenz: Motive und Felder ethnologischen Forschens, edited by Elfriede Hermann, Karin Klenke, Michael Dickhardt (Universitätsverlag Göttingen). p. 253 [2]