เนียมหูเสือ หรือ หูเสือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coleus amboinicus) เป็นพืชในสกุลหูเสือ[2] ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 0.3–1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ต้นอ่อนมีขนหนาแน่น เมื่อขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปเมื่อต้นแก่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่กว้างค่อนข้างกลมหรือรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ขนาด 2.5–5 × 3–8 เซนติเมตร ปลายใบกลมมน โคนใบกลมหรือตัด ขอบใบจักเป็นคลื่นมน ผิวใบมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมทั่วทั้งใบ ก้านใบยาว 2–4.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือยอด ยาวประมาณ 10–20 เซนติเมตร ดอกย่อยติดหนาแน่นเป็นวงรอบแกนกลาง ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกประมาณ 6–8 ดอก ทยอยบานทีละ 1–2 ดอก กลีบดอกสีม่วงขาวมี 5 กลีบ รูปเรือ ยาว 8–12 มิลลิเมตร โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 3–4 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบบนสั้นตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ตอนโคนล้อมก้านเกสรเพศเมียไว้ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง ยาว 2–4 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกบนรูปไข่กว้าง ปลายแหลม แฉกข้าง ๆ รูปหอกแคบ ใบประดับรูปไข่กว้าง ยาว 3–4 เซนติเมตร ปลายแหลม ผลเล็กกลมแป้นเป็นแบบมีเปลือกแข็ง สีน้ำตาลอ่อน ขนาดประมาณ 0.5–0.7 มิลลิเมตร[3]

เนียมหูเสือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: กะเพรา
วงศ์: วงศ์กะเพรา
สกุล: Coleus
Lour.
สปีชีส์: Coleus amboinicus
ชื่อทวินาม
Coleus amboinicus
Lour.
ชื่อพ้อง[1]
  • Plectranthus amboinicus Lour.
  • Coleus aromaticus Benth.

เนียมหูเสือมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันออก คาบสมุทรอาหรับ และอินเดีย[4] นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดินหรือไม้กระถางเพื่อประดับ[5] น้ำมันหอมระเหยที่พบมากในใบเนียมหูเสือได้แก่ คาร์วาครอล (28.65%) ไทมอล (21.66%) และฮิวมูลีน (9.67%)[6] ใบและต้นมีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ดับกลิ่นปาก ช่วยให้เจริญอาหาร และแก้คัดจมูก[3]

อ้างอิง แก้

  1. Paton, Alan J.; Mwanyambo, Montfort; Govaerts, Rafaël H.A.; Smitha, Kokkaraniyil; Suddee, Somran; Phillipson, Peter B.; Wilson, Trevor C.; Forster, Paul I. & Culham, Alastair (2019). "Nomenclatural changes in Coleus and Plectranthus (Lamiaceae): a tale of more than two genera". PhytoKeys (129): 1–158. doi:10.3897/phytokeys.129.34988. PMC 6717120. PMID 31523157.
  2. "Plectranthus amboinicus (Indian borage), Datasheet, Invasive Species Compendium". Centre for Agriculture and Biosciences International. 23 November 2017. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  3. 3.0 3.1 "หูเสือ (Plectranthus amboinicus)". ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ March 29, 2020.
  4. "Coleus amboinicus Lour.". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  5. "เนียมหูเสือ". บ้านและสวน. สืบค้นเมื่อ March 29, 2020.
  6. Senthilkumar, A; Venkatesalu, V (2010). "Chemical composition and larvicidal activity of the essential oil of Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng against Anopheles stephensi: A malarial vector mosquito". Parasitology Research. 107 (5): 1275–8. doi:10.1007/s00436-010-1996-6. PMID 20668876.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้