เจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี รามางกูร)

เจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี รามางกูร) หรือเจ้านางยอดแก้วก่องมะนี พระยาชาเอกในเจ้าพระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหารหรือเมืองบังมุกองค์ที่ 2 เป็นเจ้านางยอดแก้วหรือพระชายาเอกองค์ที่ 2 ของเมืองมุกดาหาร ถือกำเนิดในสกุล รามางกูร สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสเมืองธาตุพนมองค์ที่ 2 และสืบเชื้อสายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ในอดีต[1] ทรงเป็นผู้สร้างวัดยอดแก้วศรีวิชัยในจังหวัดมุกดาหาร

พระประวัติ แก้

ราชตระกูล แก้

เจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี) มีพระนามเดิมว่าอาชญานางรัตนมณีก่อง หรืออาชญานางก่องมะณี ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมบ้างก็ออกพระนามว่า เจ้านางยอดแก้วก่องมะนี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระอาชจญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท ขัติยวรราชวงศาอุกาสะราชาพนม หรือเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองหรือขุนโอกาสธาตุพนมองค์ที่ 2

เป็นพระยาชาเอก แก้

พระเชษฐา พระอนุชา พระเชษฐภคินี และพระขนิษฐา แก้

พระโอรสและพระธิดา แก้

การพระศาสนา แก้

สร้างพระอุโบสถวัดพระมหาธาตุพนม แก้

พ.ศ. 2349 เจ้าอนุวงศ์พระมหากษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ พระบรมราชากิตติศักดิ์เทพฤๅยศ (สุตตา) เจ้าเมืองลครพนม และพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหาร ได้ร่วมกันสร้างถนนและสะพานจากริมฝั่งแม่น้ำโขงไปยังองค์พระธาตุพนมปรากฏความบันทึกในพงศาวดารเวียงจันทน์ความว่า ...ศักราชได้ 168 ปียี่เจ้าอนุเวียงจันทน์, เจ้าเมืองลครแลบังมุก ได้สร้างขัววัดพระธาตุ... และในปีเดียวกันนี้เจ้าพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง) เจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี) พร้อมพระราชโอรสพระราชธิดา และพระราชนัดดา ได้โปรดให้พระอนุชาทั้ง 2 เสด็จมาสร้างพัทธสีมาไว้ในวัดพระธาตุพนม ดังความปรากฏในจารึกแผ่นอิฐเผาวัดพระธาตุพนมความว่า ...ศักราชได้ 168 ปีฮวายยี่ เจ้าพระยาจันทรสุริยวงษ์ เมืองมุกดาหารกับทั่งปุตตนัตตาภริยา มีอัคคมหาเสนาเจ้าใหญ่ทั้งปวง มีปัสสาทสัทธาในวรศาสนาอันล้ำยิ่ง จึงให้พระยาหลวงเมืองจันทน์ขึ้นมาปัคคัยหะกับขุนโอกาส พร้อมกันโมทนาเจ้าสังฆราชกับทั้งอันเตวาสิก พร้อมกันริจนาสิมมาสืบฮอยมืออรหันตาเจ้าไว้ ขอให้ได้ดังใจจงนิพพานปัจจโยโหตุ...[2]

สร้างวัดกลางเมืองมุกดาหาร แก้

เจ้าพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ 2 ได้พร้อมใจกับเจ้านางกอดแก้ว (ก่องมะณี รามางกูร) พระชายาเอกได้ร่วมกันสร้างวัดและสร้างพัทธสีมาขึ้นในวัดกลางเมืองมุกดาหาร[3] นอกจากนี้ยังสร้างพระธาตุขึ้น 1 ลูก บริเวณด้านหลังของวัด เมื่อ พ.ศ. 1369 เพื่อเป็นศูนย์กลางเมืองและเป็นวัดประจำพระองค์ คนทั่วไปออกนามว่า วัดกลาง หรือวัดกลางเมืองบังมุก เนื่องจากตั้งอยู่กลางเมืองมุกดาหารหาร หันหน้าออกสู่แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก[4] ดังปรากฏความในจารึกแผ่นศิลาเลกวัดยอดแก้วศรีวิชัย ความว่า ...ศักราชได้ 1188 ตัวปีฮวาย เศษเดือน 6 ขึ้น 13 ค่ำ วันพฤหัสบดี มื้อกาไค้ ภายนอกมี พญาจันทรสุริยวงษ์ เมืองมุกดาหาร แล เจ้านางยอดแก้ว เป็นเค้าเป็นเจ้าศรัทธาแลสิบฮ้อยน้อยใหญ่ทั้งปวงพร้อมกันสร้างพัทธสีมาไว้ในวัดกลางเมืองมุกดาหารกับทั้งปุตตนัดดาพร้อมกันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต่อเท่า 5,000 วัสสานิพพานปัจจโยโหตุ...[5]

สร้างบัลลังก์พระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง แก้

บูรณะพระเจ้าองค์หลวงวัดศรีมงคล แก้

บูรณะแท่นพระเจ้าหลุบเล็ก แก้

บูรณะหอเจ้าแม่สองนาง แก้

อนุสรณ์ แก้

สกุลพระราชทานของทายาท แก้

พระราชทานนามสกุลจันทรสาขา แก้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าเมืองมุกดาหารและทายาทผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองมุกดาหารว่า จันทรสาฃา เขียนเป็นอักษรโรมันว่า Chandrasa^kha เลขทะเบียนสกุลพระราชทานที่ 1370 ทรงพระราชทานแก่พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่จางวางอำเภอมุกดาหาร 25/4/14 ต่อมานิยมเขียนคำว่า จันทรสาฃา เป็น จันทรสาขา เนื่องจากปัจจุบันไม่มีการใช้อักษร ฃ แล้ว[6] อนึ่ง คำว่า จันทร มาจากพระนามเดิมของต้นราชตระกูลผู้สร้างเมืองมุกดาหารหรือเมืองบังมุกคือ เจ้าจันทกินรี หรือ เจ้าพระยาจันทรสีโสราชอุปราชามันธาตุราช และมาจากราชทินนามประจำเมืองของเจ้าเมืองมุกดาหารคือ จันทรสุริยวงษา ส่วนคำว่า สาขา เป็นภาษาบาลีตรงกับคำว่า กิ่ง ซึ่งเป็นพระนามเดิมของพระราชอัยกา (ปู่) ของพระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) เดิมบรรดาศักดิ์ที่พระจันทรเทพสุริยวงษ์ เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ 7 หรือองค์สุดท้าย เป็นพระโอรสในเจ้าอุปฮาด (แถง หรือ แท่ง) คณะอาญาสี่เมืองมุกดาหาร เป็นพระราชนัดดาในพระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ 3 เป็นพระราชปนัดดาในเจ้าพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ 2 กับเจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี)

พระราชทานนามสกุลพิทักษ์พนม แก้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสกุลแก่ทายาทผู้สืบเชื้อสายจากอำมาตย์เอก พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) อดีตเจ้าเมืองมุกดาหารองค์สุดท้ายว่า พิทักษ์พนม โดยเป็นสกุลอันมาแต่ราชทินนามเดิมของทายาท ลำดับสกุลพระราชทานอักษร พ-ฟ ที่ 65 ทรงพระราชทานแก่หลวงพิทักษ์พนมเขต (ศรีกระทุม จันทรสาขา) นามเดิมว่าท้าวศรีหรือท้าวทุม ดำรงตำแหน่งนายอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อ พ.ศ. 2478 เป็นบุตรชายของอำมาตย์เอก พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) พระราชทานสกุลเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2485[7] อนึ่ง คำว่า พิทักษ์พนม แปลว่า ผู้ปกป้องดูแลเมืองพนม หรือผู้ปกป้องดูแลพระธาตุพนม หลวงพิทักษ์พนมเขต (ศรีกระทุม) เป็นพระนัดดาในเจ้าอุปฮาด (แถง หรือ แท่ง) คณะอาญาสี่เมืองมุกดาหาร เป็นพระราชปนัดดาในพระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ 3 เป็นพระราชปทินัดดาในเจ้าพระยาจันทรสุริยวงษา (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ 2 กับเจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี)

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. ดวง รามางกูร. พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.. ม.ป.ป..
  2. สุรจิตต์ จันทรสาขา. เมืองมุกดาหาร. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.. 2543. น. 4
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-18. สืบค้นเมื่อ 2016-07-02.
  4. http://mukdahancity.com/travel/watyordkheowsriwichai/gallery_01.php[ลิงก์เสีย]
  5. สุรจิตต์ จันทรสาขา. เมืองมุกดาหาร. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.. 2543. น. 6
  6. https://sites.google.com/site/thailandsurname/home/-c
  7. กรมศิลปากร. นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : เดือนตุลา. 2554. น. 88