เขื่อนดิน คือเขื่อนที่ก่อสร้างด้วยการถมดินบดอัดแน่น มีวัสดุหลักเป็นดินประเภททึบน้ำ

ประเภทของเขื่อนดิน แก้

เขื่อนดินมี 2 ประเภท คือ

  1. เขื่อนดินประเภทเนื้อเดียว (Homogeneous Earth Dam) เป็นเขื่อนซึ่งก่อสร้างด้วยดินเหนียว ซึ่งเป็นดินประเภททึบน้ำ ปิดทับด้านเหนือน้ำด้วยหินทิ้ง หรือหินเรียง เพื่อป้องกันการกัดเซาะจากคลื่น ด้านท้ายน้ำมักจะปลูกหญ้าป้องกันการพังทลายของดิน
  2. เขื่อนดินประเภทแบ่งโซน (Zoned-Earth Dam) ตัวเขื่อนจะแบ่งโครงสร้างเขื่อนเป็นโซน โดยแกนกลางของเขื่อนจะเป็นชั้นดินเหนียวทึบน้ำ มีชั้นกรองเป็นวัสดุประเภทกรวดหรือทราย ชั้นถัดจากแกนเขื่อนจะเป็นดินประเภทกึ่งทึบน้ำ และปิดทับด้านเหนือน้ำด้วยหินทิ้ง หรือหินเรียง เพื่อป้องกันการกัดเซาะจากคลื่น เช่นเดียวกับเขื่อนดินประเภทเนื้อเดียว

หลักการออกแบบเขื่อน แก้

ในการออกแบบเขื่อนจะต้องพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ

  • เสถียรภาพของตัวเขื่อน
  • แรงแบกทานของชั้นหินฐานราก
  • การควบคุมการรั่วซึมของน้ำ
  • ความสูงเผื่อของสันเขื่อน
  • การป้องกันและควบคุมการกัดเซาะจากคลื่น
  • การจัดการวัสดุ

ขั้นตอนในการออกแบบเขื่อน แก้

การออกแบบเขื่อนมีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้

  • ศึกษา สังเกตการณ์ รวบรวมข้อมูล เช่นสภาพฐานราก แหล่งวัสดุ น้ำหนักที่กระทำ
  • เลือกประเภทของเขื่อน
  • วิเคราะห์การรั่วซึมของน้ำ และออกแบบชั้นกรอง
  • วิเคราะห์เสถียรภาพของตัวเขื่อน
  • วิเคราะห์การทรุดตัวและการเคลื่อนตัว
  • ออกแบบหน้าตัดเขื่อนขั้นสุดท้าย
  • พิจารณาอุปกรณ์ตรวจวัดพฤติกรรมของเขื่อนเพื่อความปลอดภัย
  • จัดทำแบบขั้นสุดท้ายและข้อกำหนดทางเทคนิค

อ้างอิง แก้

  • คณะทำงานจัดทำแบบมาตรฐานเขื่อนเก็บกักน้ำและอาคารประกอบ, แนวทางและ

หลักเกณฑ์การออกแบบเขื่อนเก็บกักน้ำและอาคารประกอบ, 2545. กรมชลประทาน.

  • ปราโมทย์ ไม้กลัด, 2524. คู่มืองานเขื่อนดินขนาดเล็กและฝาย. พิมพ์ครั้งที่ 2.

นนทบุรี: สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน.

  • ปราโมทย์ ไม้กลัด, 2526. การบำรุงรักษาเขื่อนดินและอาคารประกอบ, เอกสาร

ประกอบการสัมมนาทางวิชาการเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานชลประทาน.

  • วรากร ไม้เรียง, 2542. วิศวกรรมเขื่อนดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไลบรารี่นาย.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้