เกาะซีเมอลูเวอ

ซีเมอลูเวอ (อินโดนีเซีย: Simeulue) หรือ ซีมือลูเวอ (อาเจะฮ์: Simeuluë) เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปประมาณ 150 กิโลเมตร (93 ไมล์) โดยมีเมืองใหญ่ที่สุดคือซีนาบัง ในสมัยก่อนนั้นเกาะซีเมอลูเวอเคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภออาเจะฮ์ตะวันตก แต่ได้มีการแยกออกมาเป็นเขตใหม่ชื่อว่าอำเภอซีเมอลูเวอใน พ.ศ. 2542

ซีเมอลูเวอ
Simeulue Topography.png
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด2°35′N 96°05′E / 2.583°N 96.083°E / 2.583; 96.083พิกัดภูมิศาสตร์: 2°35′N 96°05′E / 2.583°N 96.083°E / 2.583; 96.083
พื้นที่2,310 ตารางกิโลเมตร (890 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด567 ม. (1860 ฟุต)
จุดสูงสุดไม่มีชื่อ
การปกครอง
อินโดนีเซีย
ประชากรศาสตร์
ประชากร82,100 คน
ความหนาแน่น35.5/กม.2 (91.9/ตารางไมล์)

ประชากรแก้ไข

ผู้คนในเกาะซีเมอลูเวอมีความคล้ายคลึงกับผู้คนบนเกาะเนียซที่อยู่ใกล้เคียงกัน มีภาษาถิ่นมากมายและแตกต่างจากภาษาบนเกาะสุมาตรา โดยมีภาษาที่ใช้กันมาก 2 ภาษา คือ ภาษาซีเมอลูเวอและภาษาซีกูเล[1] และศาสนาที่นับถือกันมากบนเกาะนี้คือศาสนาอิสลาม

แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2547แก้ไข

เกาะซีเมอลูเวอนั้นอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวขนาด 9.3 แมกนิจูดใน พ.ศ. 2547

และในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.7 แมกนิจูด ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณทางตอนใต้ของเกาะ[2] หลังจากเกิดแผ่นดินไหวได้เกิดสึนามิขนาด 3 เมตรเข้าพัดถล่มชายฝั่งและโรงพยาบาลในเมืองซีนาบัง โดยความรุนแรงครั้งนี้สามารถรับรู้ได้ถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย[3][4]

ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ไข

เกาะซีเมอลูเวอห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 60 กิโลเมตร แต่มีผู้เสียชีวิตเพียง 6 ราย ในขณะที่ประชากรที่เหลือ 70,000 คนปลอดภัย เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียกว่า "ซมง" นั้นได้บอกว่าหากเกิดแผ่นดินไหวและมีน้ำทะเลลดลงอย่างกะทันหัน ควรอพยพขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุด[5]

อ้างอิงแก้ไข

  1. BPS Kabupaten Simeulue (2003). Simeulue Dalam Angka 2012. BadanPusatStatistik.Com. ISBN 0-0100-0021-6.
  2. "Gibbons, Helen (April 2005) "Second Tsunami Causes Damage in Indonesia—USGS Scientists Post Observations on the World Wide Web" United States Geological Survey". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-31. สืบค้นเมื่อ 2017-11-02.
  3. [1]แผ่นดินไหวขนาด ๘.๗ ริคเต้อร์ ที่เกาะสุมาตราอีก แจ้งผู้ตายร่วม ๓๐๐ บาดเจ็บอีก ๒๐๐๐ แล้ว
  4. Saved by tsunami folklore, BBC News From Our Correspondent, 10 March 2007
  5. "Pulau Simeulue". October 13, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ 2017-11-02.