อมฤตเวลา (ปัญจาบ: ਅੰਮ੍ਰਿਤ ਵੇਲਾ; อ่านว่า อัม-มะ-ริ-ตะ-เว-ลา) แปลตรงตัวว่า "เวลาที่เป็นอมฤต" หมายถึงช่วงเวลาเช้าตรู่ ประมาณตั้งแต่ตีสามจนถึงหกโมงเช้า[1] หรือเวลาก่อนย่ำรุ่ง[2] เป็นเวลาที่ใช้ทำสมาธิและท่องและขับรองเพลงสวดคุรบานิ คุรุนานักระบุไว้ในจัปจิสาหิบว่า "จงทำสมาธิในช่วงอมฤตเวลา ให้จิตใจอยู่กับความยิ่งใหญ่ของนามแท้จริงหนึ่งเดียว ("นาม" หมายถึงพระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาซิกข์)[1] ความสำคัญของอมฤตเวลานั้นถูกระบุไว้ทั่วคุรุกรันตสาหิบ มีท่อนหนึ่งที่ระบุว่า "ผู้ใดที่บอกว่าตนเป็นชาวซิกข์ ต้องตื่นขึ้นมาแต่เช้าตรู่ทุกวันในช่วงอมฤตเวลา และปรับตัวเองให้เข้ากับและอยู่กับนาม (พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาซิกข์)"[3]

ศรีหริมันทิรสาหิบ อมฤตสระสาหิบ ในช่วงเวลา "อมฤตเวลา"

ชาวซิกข์จะสวดบทสวดตอนเช้า "นิตนีม" ในช่วงอมฤตเวลา ดั้งเดิมแล้วหลังเสร็จการสวดนิตนาม ก็จะไปพบปะกันต่อหน้าคุรุกรันตสาหิบ (Sangat) และสวด Asa di Var[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 McLeod, W. H. (2009). The A to Z of Sikhism. Scarecrow Press. p. 15. ISBN 9780810863446.
  2. Singh, Dharma (2011). Meditation As Medicine: Activate the Power of Your Natural Healing Force. New York: Simon and Schuster. p. 34. ISBN 9781439117538.
  3. Sri Guru Granth Sahib. p. Ang 305.
  4. Duggal, Kartar (1980). The Prescribed Sikh Prayers (Nitnem). New Delhi: Abhinav Publications. ISBN 9788170173779.