อนุชา รัตนมาลย์

อนุชา รัตนมาลย์ (15 มิถุนายน 2476 – ?) เป็นอดีตนักแสดงชายชาวไทย

ประวัติ แก้

อนุชา รัตนมาลย์ มีชื่อจริงว่า เอนก ชิตานุวัตร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ในบรรดาพี่น้อง 5 คน เรียนจบหลักสูตรการอาวุธเทคนิคจากกองทัพอากาศ ก็เลยเข้ารับราชการเป็นทหารอากาศ ต่อมาลาออกจากราชการทหารมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ใกล้ ๆ ศาลาเฉลิมกรุง[1]

การทำงานในวงการบันเทิง แก้

เอนกเข้าสู่วงการภาพยนตร์จากการชักชวนของ แดน กฤษดา นักเขียนชื่อดังในยุคนั้นซึ่งเป็นเพื่อนโดยได้นำไปฝากกับ ประทีป โกมลภิส ผู้กำกับชื่อดังในยุคนั้นแห่งทัศไนยภาพยนตร์ ซึ่งคุณประทีปได้ตั้งชื่อในการแสดงให้เอนกว่า อนุชา รัตนมาลย์ โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาได้แสดงคือเรื่อง เด็ดดอกฟ้า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 โดยแสดงคู่กับภาวนา ชนะจิต ต่อมาอนุชาได้ร่วมกับเพื่อนในวงการอย่างมิตร ชัยบัญชา, วิน วันชัย ไพรัช สังวริบุตร และทานทัต วิภาตะโยธิน ตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ชื่อ วชิรนทร์ภาพยนตร์ สร้างภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง ยอดขวัญจิต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาคือเรื่อง ทับสมิงคลา ในชุดอินทรีแดง ซึ่งประสบความสำเร็จ[1]

ผลงาน แก้

ปี เรื่อง แสดงเป็น ค่าย วันที่
พ.ศ. 2504 เด็ดดอกฟ้า โกมลภิสภาพยนตร์ 26 พฤษภาคม
พ.ศ. 2505 ยอดขวัญจิต วชิรนทร์ภาพยนตร์ 28 มิถุนายน
ม่านน้ำตา เนรมิตฟิล์ม 13 ธันวาคม
ทับสมิงคลา ร้อยเอกเทอด ธรรมรักษ์ วชิรนทร์ภาพยนตร์ 21 ธันวาคม
พ.ศ. 2506 ศึก 5 เสือ
เอื้องฟ้า รุ่งเรืองภาพยนตร์
แรงรัก
พ.ศ. 2507 อรทัยใจเพชร วชิรนทร์ภาพยนตร์ 6 มีนาคม
ร้อยป่า พิษณุภาพยนตร์ 10 กรกฎาคม
กฎหมายป่า รัตนมาลย์ภาพยนตร์
พันธุ์ลูกหม้อ ไทยฟิล์ม 14 สิงหาคม
พ.ศ. 2508 อินทรีมหากาฬ วัชรภาพยนตร์ 28 มกราคม
จอมใจ ชัยพัฒนาภาพยนตร์ 26 กุมภาพันธ์
มัจจุราชเปลือย เทพนิมิตภาพยนตร์ 30 เมษายน
หนึ่งในสยาม ศรีบูรพาภาพยนตร์ 11 มิถุนายน
นางเสือดาว ฉิ่งฉับแกละ รุ่งเรืองภาพยนตร์ 28 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2509 ศึกบางระจัน เอิบ ภาพยนตร์สหนาวีไทย 19 มกราคม
หงส์เหิร ธราธรภาพยนตร์ 24 กุมภาพันธ์
ลมหนาว นันทนาครภาพยนตร์ 19 มีนาคม
เพชรตัดเพชร สหการภาพยนตร์ไทย 5 เมษายน
นกแก้ว บูรพาศิลปภาพยนตร์ 27 พฤษภาคม
ปีศาจดำ ดุสิตภาพยนตร์ 22 กรกฎาคม
ในม่านเมฆ สมิต จุฬาโลกภาพยนตร์ 23 สิงหาคม
เกิดเป็นหงส์ เสกสรรค์ แหลมทองภาพยนตร์ 25 กันยายน
ชาติกระทิง พันคำภาพยนตร์ 30 ธันวาคม
พ.ศ. 2510 7 พระกาฬ สิงห์ ไกรสร อินทรวิจิตรภาพยนตร์ 3 กุมภาพันธ์
นางนวล กฤษดาภาพยนตร์
นักเลงสี่แคว ธราธรภาพยนตร์ 24 มีนาคม
ล่าพยาบาท สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ 7 กรกฎาคม
คนเหนือคน เอนก สหการภาพยนตร์ไทย 1 ธันวาคม
จุฬาตรีคูณ วัฒนภาพยนตร์ 28 ธันวาคม
พ.ศ. 2511 ปราสาทรัก พิษณุภาพยนตร์ 15 มกราคม
สมิงดง พันคำภาพยนตร์ 15 มีนาคม
จ้าวอินทรี รามาภาพยนตร์ 21 มีนาคม
สกุลกา ติณห์ ธารทองภาพยนตร์ 12 กรกฎาคม
เรือจ้าง สุวัฒน์ พัฒนาการภาพยนตร์ 18 กรกฎาคม
ดอกบัว กรนิมิตภาพยนตร์ 23 สิงหาคม
ทรายแก้ว เบญจมิตรภาพยนตร์ 11 ตุลาคม
ป่าลั่น อัมพรภาพยนตร์ 28 พฤศจิกายน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "อนุชา รัตนมาลย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-14. สืบค้นเมื่อ 2023-06-14.