หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ (ช้าง)

หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ (2389-2460) ขุนนางชาวไทย กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า และเป็นหนึ่งในเพื่อนต้นหรือพระสหายสนิทคนสำคัญของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ
เกิดช้าง
พ.ศ. 2389
เสียชีวิตพ.ศ. 2460
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากเพื่อนต้นใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คู่สมรสอำแดงพลับ
บุตร11 คน
บิดามารดานายคง
อำแดงบุญ

ประวัติ แก้

นายช้างเกิดเมื่อราว พ.ศ. 2389 ในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อนายคง มารดาชื่อ อำแดงบุญ ในครอบครัวคหบดี ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ ฐานะมั่นคง ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ อำแดงพลับ มีบุตร-ธิดา ทั้งสิ้น 11 คนเป็นชาย 5 คนและหญิง 6 คน

ในช่วงปลายของการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะผู้ตามเสด็จได้ล่องเรือเลี้ยวเข้าคลองบางหลวงอ้ายเอียงก่อนจะเสด็จต่อไปยัง พระราชวังบางปะอิน และประทับรถไฟจาก สถานีรถไฟบางปะอิน เสด็จกลับ กรุงเทพมหานคร โดยพระองค์และผู้ตามเสด็จได้แวะพักทำอาหารที่เรือนของกำนันประจำตำบลแต่กำนันไม่อยู่อยู่แต่ นายช้าง และ อำแดงพลับ พ่อตาและแม่ยายของกำนันซึ่งนายช้างและอำแดงพลับได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและนายช้างได้กราบทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วยเป็นธุระซื้อปืน เมาเซอร์ ให้สักกระบอกซึ่งพระองค์ก็ตอบตกลงและเมื่อเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังพระราชวังบางปะอินพระองค์ได้พระราชทานเงินจำนวน 400 บาทให้แก่ นายช้าง และ อำแดงพลับ

และภายหลังเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานปืนเมาเซอร์ให้กับนายช้างตามสัญญาและโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยทำประทวนแต่งตั้งให้ นายช้าง เป็น กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า พร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447

ต่อมาระหว่างการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเรือนของ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ อีกครั้งในคราวนี้หมื่นปฏิพัทธหรือนายช้างได้รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองกรุงเก่าจึงทราบข่าวล่วงหน้าและเตรียมการรับเสด็จเป็นอย่างดีก่อนเสด็จประพาสต่อไปพระองค์ได้ถ่ายรูปครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงพระราชทานสิ่งของแก่ครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ ได้แก่ กระดุมลงยาเม็ดใหญ่ พระราชทานแก่หมื่นปฏิพัทธ หีบหมากเงินสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. แก่ อำแดงพลับ ผ้าและหนังสือแก่บุตรสาวทั้งสองของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงซองบุหรี่เงินแก่ เจ๊กขัน บุตรเขยและได้พระราชทานนามให้กับบุตรชายของเจ๊กขันด้วย

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระองค์ได้พระราชทานไม้เท้าและกระเป๋าหนังจระเข้แก่ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถและอำแดงพลับ ต่อมาใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน เดือน 11 จุลศักราช 1270 ลงวันที่ 23 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ได้บันทึกเกี่ยวกับการไปช่วยงานทอดกฐินของหมื่นปฏิพัทธภูวนารถของพระองค์ดังนี้

เวลาเช้าทรงเรือพระที่นั่งครุธเหิรเห็จล่องน้ำไปเข้าแยกตำบลหัวเวียง เสด็จไปทรงช่วยนายช้างซึ่งเปนที่หมื่นปฏิพัทธภูวนารถแลอำแดงพลับในการ​ทอดกฐิน พระราชทานเสมาแก่เด็กด้วย แล้วเลยไปประทับเสวยที่บ้านหมื่นปฏิพัทธภูวนารถ พระราชทานเงินแก่หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ๒๐๐ บาท

ตำแหน่ง แก้

  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447 - กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า[1]

บรรดาศักดิ์ แก้

  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447 - หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ศักดินา ๓๐๐[2]

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้