สารละลายมาตรฐาน

ในเคมีวิเคราะห์ สารละลายมาตรฐาน เป็นสารละลายที่มีธาตุหรือสารที่ทราบความเข้มข้นแน่ชัดอยู่ ซึ่งสามารถเตรียมได้โดยใช้สารมาตรฐาน อย่างเช่น มาตรฐานปฐมภูมิ สารละลายมาตรฐานถูกใช้ในการหาความเข้มข้นของสารอื่น อย่างเช่น สารละลายในการไทเทรต ความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานส่วนใหญ่เขียนอยู่ในหน่วยโมลต่อลิตร (mol/L, M/L) โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร (mol/dm3) กิโลโมลต่อลูกบาศก์เมตร (kmol/m3) หรือในคำที่เกี่ยวข้องกับที่ใช้ในการไทเทรตโดยเฉพาะ (อย่างเช่น ไตเตอร์)

มาตรฐานอย่างง่ายสามารถได้มาจากการเจือจางธาตุหรือสารอย่างหนึ่งในตัวทำละลายที่สามารถทำปฏิกิริยาและละลายได้

การใช้ แก้

สารละลายกรดสามารถทำให้เป็นสารละลายมาตรฐานได้โดยการไทเทรตสารนั้นด้วยสารละลายอัลคาไลน์ที่ทราบความเข้มข้น เมื่อมีการคำนวณแล้ว มันจะสามารถถูกใช้เป็นสารละลายมาตรฐานเพื่อหาความเข้มข้นของสารละลายอัลคาไลน์ได้ตามลำดับ

สารละลายมาตรฐานยังมักได้ถูกใช้เพื่อหาความเข้มข้นของสปีชีส์วิเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบค่าความดูดกลืนแสงของสารละลายตัวอย่างที่ความยาวคลื่นหนึ่งกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นแตกต่างกันของสปีชีส์วิเคราะห์ ความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่างสามารถพบได้โดยกฎของลัมแบร์ท–แบร์ สเปกโตรสโกปีรูปแบบใด ๆ สามารถถูกใช้ในวิธีนี้นานตราบเท่าทีสปีชีส์วิเคราะห์มีค่าความดูดกลืนแสงมากในสเปกตรัม สารละลายมาตรฐานเป็นแนวอ้างอิงในการค้นหาโมลาร์ของสารที่ยังไม่ทราบ

อ้างอิง แก้

  • Freiser, Henry; Nancollas, George H (1987). Compendium of Analytical Nomenclature: Definitive Rules 1987. Oxford: Blackwell Scientific Publications. p. 48. ISBN 0-63201-907-7.