สัญลักษณ์รัฐประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ก่อกำเนิดโดยการรวมตัวกันของ26 เมืองในปี 1848 โดยที่เมืองแต่ละเมืองเคยเป็นเมืองที่ อยู่ด้วยตัวเอง ปกครองตัวเอง มีขอบเขตเมืองที่ชัดเจน มีทหารและสกุลเงินเป็นของตัวเอง จนกระทั่ง มีการรวมตัวกัน ก่อตั้งจนเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมืองที่เกิดขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือเมือง Jura เป็นเมืองที่แยกตัวออกมาจากเมือง bern ในปี 1979 ในศตวรรษที่ 16 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประกอบไปด้วยเมืองเพียง 13 เมือง โดยเมืองต่างๆได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบตัวเมือง 7 เมือง และเมือง แบบป่า อีก 6 เมือง

ถึงแม้ว่าเมืองทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน แต่เมืองทั้งหมดก็ได้เป็นอิสระจากอาณาจักรโรมันในปี 1499 ในช่วงเวลาที่สวิตเซอร์แลนด์ชนะจักรพรรดิ Maximillus

หลังจากนั้น เมืองทั้ง 6 เมืองที่เป็นเมืองดินแดนป่า ได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองโดยประชาธิปไตย ในขณะที่เมืองอีก 7 เมือง ถูกปกครองโดยครอบครัวเศรษฐีคนรวยของเมืองนั้นๆ

ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเหมือนกับธงของรัฐยุโรปในยุคกลาง ซึ่งเป็นเพียงสี่เหลี่ยมเรียบๆกับเครื่องหมายไม้กางเขน ก่อนหน้านี้ เมืองต่างๆในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้มีธงเหมือนกัน แต่หลังจากการก่อตั้งเป็นประเทศ จึงได้มีการหยิบยืมเครื่องหมายต่างๆมาใช้รวมกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน นอกเหนือจากธงของวาติกันแล้ว ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นประเทศเดียวที่มีลักษณะของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส


แต่ละเมืองได้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเอง นั่นก็คือธง

Aargau แก้

ธงนี้ได้ถูกใช้ครั้งแรกในปีแรกในปี 1803 ลายคลื่นสีขาวบนพื้นสีดำ หมายถึง แม่น้ำ Aare และดาวสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน หมายถึง เขตสามเขตของเมืองนี้ คือได้แก่ Baden, Free Areas, Fricktal ตอนแรก ดาวทั้งสามดวงได้ถูกเรียงกันเป็นแถวแนวยาว แต่ต่อมาในปี 1963 ได้มีการเรียงดาวใหม่เป็นดาวสองดวงกับดาวหนึ่งดวง


Appenzell Ausserrhoden แก้

เป็นปีที่เมืองนี้ได้แยกตัวออกมาจากเมือง Appenzell Innerrhoden ซึ่งยังคงใช้สัญลักษณ์หมีจากเมืองเก่า แต่ได้เพิ่ม ตัวอักษรV และ R ซึ่งเป็นตัวย่อของ Ussroden สัญลักษณ์หมีนี้ได้ใช้ตั้งแต่ยุคกลางในปี 1403 เป็นสัญลักษณ์แทนเมืองที่ใช้ในการออกรบของในยุคนั้น


Appenzell Innerrhoden แก้

ธงนี้เป็นธงดั้งเดิมตั้งแต่ปี 1597 ก่อนที่เมืองจะแยกออกเป็น 2 เมือง คือ Appenzell Innerrhoden และ Appenzell Ausserrhoden


Basel Land แก้

เมืองนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1832 ธงนี้ได้มีการเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1834 ซึ่งได้แบบมาจากคฑาของเจ้าเมือง ที่หัวคฑาหันไปทางด้านขวา พร้อมกับมีการตกแต่งด้วยรูปทรงวงกลมเล็กๆ แต่ต่อมา ได้มีการ นำธงนี้มาใช้อย่างเป็นทางการในปี 1947


Basel Stadt แก้

สัญลักษณ์ของเมืองนี้ ได้มาจากหัวคฑาของหัวหน้าบาทหลวงของเมือง ได้ใช้มานานตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 ซึ่งใช้เป็นสีขาวดำมาตลอด ไม่มีการเพิ่มสีให้กับสัญลักษณ์เมืองนี้ ถึงแม้ว่าจะได้มีการแบ่งเมืองออกเป็น 2 เมือง คือ Basel Land และ Basel Stadt


Bern แก้

ธงนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 12 เป็นสัญลักษณ์หมีเช่นเดียวกับเมือง Appenzell เพราะมีการออกรบแย่งดินแดนเหมือนกัน เมืองนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์มาโดยตลอด แต่แต่ละแบบก็ได้ใช้แค่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ จนในที่สุดก็ได้กลับมาใช้แบบเดิม ชื่อของหมีบนธงนี้มีชื่อเดียวกับเมือง ซึ่งก็คือ Bern

Fribourg แก้

สีประจำเมืองนี้ คือ สีขาวดำ เลยถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ธงประจำของเมือง และธงนี้มีความเกี่ยวข้องกับตราแผ่นดินของประเทศสวิตเซอร์แลนด์


Geneva แก้

นกอินทรีบนธงนี้ เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ และ กุญแจหมายถึงกุญแจของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ เหตุผลที่ใช้สัญลักษณ์นี้ เพราะต้องการสื่อความหมายว่า เมืองนี้เป็นประตูเมืองของประเทศ ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1815 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน


Glarus แก้

สัญลักษณ์บนธงเป็นรูปของนักบุญ Fridolin ซึ่งเป็นนักบุญประจำเมืองนี้ วางอยู่บนพื้นหลังสีแดง ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1352


Graubünden แก้

เนื่องจากเมืองนี้เป็นการรวมตัวของเมือง 3 เมือง ธงเลยได้รวบรวมสัญลักษณ์ของเมืองทั้ง 3 ไว้ด้วยกันเป็นธงประจำเมืองนี้ Graubunden, Zehgerichtenbund, Gotteshausbund

Jura แก้

เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง Basel Land ซึ่งแยกออกมาภายหลัง เลยได้เอาสัญลักษณ์คฑามาใช้ด้วย ส่วนลายทางเป็นสัญลักษณ์ของตราเมืองเลยได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของธงเช่นกัน ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1978


Lucerne แก้

ในปี 1332 เมืองนี้เป็นเมืองที่ 4 ที่ได้เข้าร่วมกับการรวมตัวก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สัญลักษณ์บนธงนี้ ได้นำเพียงสีของเมืองมาใช้ คือ สีขาวฟ้า แล้วเรียงเป็นลายทางแนวขวาง

Neuchâtel แก้

สีทั้ง 3 ของธงนี้มาจากสีประจำเมือง ได้เริ่มใช้ในปี 1848 ภายหลังได้เพิ่มสัญลักษณ์ไม้กางเขน เพื่อแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์


Nidwalden แก้

สัญลักษณ์บนธงของเมืองนี้ หมายถึง กุญแจของเซนต์ปีเตอร์ แต่มีสองแฉก

Obwalden แก้

สัญลักษณ์บนธงของเมืองนี้ หมายถึง กุญแจของเซนต์ปีเตอร์ เช่นเดียวกับเมือง Nidwalden เพราะตอนแรกทั้งสองเมืองนี้คือเมืองเดียวกัน แต่พอแยกเมืองออกมา เมือง Obwalden ก็ยังคงใช้สัญลักษณ์เดิม แต่เหลือกุญแจเพียงแค่แฉกเดียว

Schaffhausen แก้

ธงนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 14 เป็นสัญลักษณ์รูปแกะ เพราะเมืองนี้มีคำว่า แกะ อยู่ในชื่อเมือง


Sankt Gallen แก้

สัญลักษณ์บนธงนี้คือ มัดไม้ที่หุ้มขวานที่มีใบขวานโผล่ออกมา ซึ่งหมายถึงการมีอำนาจการปกครองชั้นสูงของกรุงโรมโบราณ และหมายถึงสาธารณรัฐด้วย ธงนี้ได้นำมาใช้ในปี 1803

Schwyz แก้

เมืองนี้เป็น 1 ใน 3 เมืองแรกของการรวมตัวก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งชื่อของเมืองนี้อ่านว่า สวิต เลยได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อประเทศ ธงนี้นำมาใช้ครั้งแรกในปี 1291


Solothurn แก้

ธงนี้นำมาใช้ในปี 1394 สัญลักษณ์ของธงคือการนำเอาสีประจำประเทศมาใช้ เพราะตอนแรกธงของเมืองนี้เป็นพื้นแดง ไม้กางเขนขาว แต่ธงนั้นได้นำไปใช้เป็นธงประจำประเทศไปแล้ว


Thurgau แก้

ธงนี้นำมาใช้ในปี 1803 เป็นสัญลักษณ์สิงโตตั้งผู้กับตัวเมียสองตัว ซึ่งนำมาจากตราของเมืองที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ


Tessin แก้

สีของธงนี้นำมาจากสีของประเทศฝรั่งเศสสามสี คือ แดง ขาว น้ำเงิน แต่ตัดสีขาวออก และสีแดง น้ำเงิน นี้ คือสีหลักของเรือประจำเมือง


Uri แก้

สัญลักษณ์บนธงนี้คือรูปกระทิง ซึ่งเกี่ยวข้องกับชื่อเมือง ธงนี้ได้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 13 แต่ยังไม่มีห่วงสีแดง ห่วงนี้ได้เพิ่มมาภายหลัง


Valais แก้

ตอนแรกธงนี้มีดวง ดาวเพียง แค่7 ดวง แต่ในปี 1802 ได้เพิ่มดาวเป็น 12 ดวง เพื่อที่เมืองนี้ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1814

Vaud แก้

สีที่ใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงนี้ หมายถึง อิสรภาพ และเมืองนี้ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1803 คำที่เขียนอยู่บนธงเป็นคำขวัญประจำเมือง ซึ่งมีความหมายว่า อิสรภาพ และ ปิตุภูมิ


Zug แก้

เมืองนี้ได้เข้าร่วมในการกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1352 แต่ถูกออสเตรียยึดครองช่วงหนึ่ง และกลับเข้ามารวมกับสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งในปี 1364 ดั้งเดิมสีธงเป็นสีแดงขาว แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นน้ำเงินขาว ซึ่งมาจากตราประจำเมือง

Zürich แก้

ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1351 ซึ่งเป็นปีที่เมืองนี้ได้เข้ารวมกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากปี 1957 ได้มีข้อบังคับให้ใช้ธงนี้ในรูปแบบเดียวกันกับเกราะของเมือง