สะพานจันทร์สม หรือ สะพานจันทร์สมอนุสรณ์[1] เป็นสะพานคนเดินข้ามแม่น้ำปิง[2] สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2421 โดยนายชีค มิชชันนารี เพื่อให้ชาวบ้านสัญจรระหว่างชุมชนวัดเกต กับชุมชนบริเวณตลาดวโรรสในปัจจุบัน เป็นสะพานที่มีความสำคัญในการเป็นทางเชื่อมระหว่างชุมชนแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง รวมถึงเป็นสะพานที่เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าชาวปากีสถาน และชาวไทย

สะพานจันทร์สมอนุสรณ์ มุมจากฝั่งตรงข้ามตัวเมืองเชียงใหม่

ประวัติ

แก้

สะพานจันทร์สม ก่อสร้างขึ้นด้วยไม้สัก ในปี พ.ศ. 2421 ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการรื้อถอนสะพานเก่าเนื่องจากไม้ผุพัง ทำให้ราษฎรเกิดความลำบากในการสัญจรไปมาระหว่างกัน ทางราชการจึงสร้างสะพานไม้ไผ่ขึ้นมาใช้ทดแทน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ขัวแตะ" หมายถึง สะพานที่สร้างโดยใช้ไม้ไผ่สาน

ในปี พ.ศ. 2507 นายโมตีราม โกราน่า (นายมนตรี โกศลาภิรมย์) เจ้าของกิจการขายผ้าชาวอินเดีย ได้บริจาคเงินจำนวน 2 แสนบาทให้เทศบาลเชียงใหม่ สร้างสะพานคอนกรีตถาวรแทนสะพานขัวแตะ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความรักของตน กับนางจันทร์สม ซึ่งใช้สะพานนี้ในการสัญจรไปมาตลอด ชาวบ้านจึงให้ชื่อสะพานนี้ว่า "สะพานจันทร์สม" หรือชื่ออื่นอีกหลายๆ ชื่อที่มีการเรียกขานสะพานนี้ เช่น ขัวแขก (สะพานแขก)[3]

พ.ศ. 2554 สะพานมีการปิดซ่อมแซมโดยเทศบาลนครเชียงใหม่[4] ระหว่างนั้น กรมเจ้าท่า ได้ร้องต่อศาลปกครองว่าสะพานนี้สร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีการบุกรุกลำน้ำปิง ต่อมา ศาลสั่งให้ระงับซ่อมแซมและให้รื้อถอนตามคำร้องของกรมเจ้าท่า เทศบาลเห็นว่าสะพานนี้ไม่ได้สร้างขึ้นใหม่ สะพานมีอายุกว่า 50 ปี และมีประวัติมานานนับร้อยปี จึงยื่นอุธรณ์ขอสร้างใหม่ ศาลจึงอนุญาตให้มีการสร้างได้

สะพานจันทร์สมอนุสรณ์ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2559[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "ย่านถนนช้างม่อย(ตอนจบ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2013-11-06.
  2. โครงสร้างพื้นฐาน เทศบาลนครเชียงใหม่
  3. อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.
  4. ปิดฉากสะพานจันทร์สมประวัตศาสตร์เมืองเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  5. สกู๊ปหน้า 1… “ขัวแขก” สะพานจันทร์สมอนุสรณ์
สะพานข้ามแม่น้ำปิงในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานนครพิงค์
สะพานจันทร์สมอนุสรณ์
ท้ายน้ำ
สะพานนวรัฐ