วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/เมษายน 2551

สารเคมีที่ไวต่อก๊าซมีเทน(CH4) และสามารถจับตัวกับมีเทนได้

มีหรือเปล่า --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.209.196 (พูดคุย | ตรวจ) 17:17, 6 เมษายน 2551 (ICT)


methane อยู่ในกลุ่มของ alkane ซึ่งเสถียรอยู่แล้ว มันไม่อยากไปจับกับใครเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงหรอกขอรับ แต่ถ้าคุณจะเปลี่ยนมัน ต้องใช้พลังงานและแคตาลิสต์พยายามไปดึงไฮโดรเจนมันออก แล้วหากลุ่มหรือฟังก์ชันนัลกรุ๊ปอื่นยัดเข้าไป อ้อมีเทนไวไฟนะขอรับ พวกก๊าซชีวภาพที่หมักจากมูลสัตว์หรือพวกแอลพีจี เอ็นจีวีก้อมีมันอยู่ด้วยขอรับ ....นินจ้อ

หนูทดลอง

ทำไมในการทดลองหรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์จึงมักใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง เช่นในกรณีก่อนที่จะนำไปใช้กับคน ผลที่ได้จะถูกต้องมากน้อยแค่ใหนครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.206.132 (พูดคุย | ตรวจ) 09:46, 8 เมษายน 2551 (ICT)

ก็เพราะว่าหนูกับคนมีลักษณะทางกายวิภาคที่ใกล้เคียงกันครับ--ญนืเหฟะนื นนืพนก 21:27, 12 กรกฎาคม 2551 (ICT)

การลงโปรแกรมลีนุกซ์

สวัสดี วันปีใหม่ไทยค่ะ ตอนนี้คอมพิวเตอร์ดิฉันใช้ระบบปฎิบัติการวินโดว อยู่ค่ะ แต่ก็สนใจใน ระบบปฎิบัติการลีนุกซ์เหมือนกัน อยากจะขอความช่วยเหลือการลงโปรแกรมลีนุกซ์ค่ะว่ามีขั้น ตอนอย่างไรบ้าง แล้วเป็นไปได้ไหมค่ะที่จะลงลีนุกซ์และวินโดวในคอมเครื่องเดียวกัน

ขอบพระคุณค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Luckyprincezz (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:04, 13 เมษายน 2551 (ICT)

ไปอ่านที่ ลินุกซ์#การติดตั้ง --ปังคุง 13:07, 15 เมษายน 2551 (ICT)

เพิ่มเติมครับ ลินุกซ์ ไม่ใช่โปรแกรมนะครับ มันเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ "OS" Operating System

หาค่าปริมาตรของ ของเหลว ในภาชนะทรงกระบอกรูปไข่ ที่มีขนาดหัวท้ายเท่ากัน

เหมือนแทงค์บรรจุสารเคมี มีสูตรคณิคศาตร์อย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.9.55.173 (พูดคุย | ตรวจ) 05:19, 14 เมษายน 2551 (ICT)

ปริมาตรทรงกระบอก = พื้นที่หน้าตัด * ความยาว (หรือความสูง) ของทรงกระบอก --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:55, 16 พฤษภาคม 2551 (ICT)

เรียนเทคโนโลยีชีวภาพ ผลิตยาได้

อยากทราบว่าเรียนคณะวิทยาศาสาตร์ สาขาเทคโลยีชีวภาพ แล้วสามารถทำงานเกี่ยวกับการผลิตยาได้ไหมคะ ใครทราบช่วยบอกด้วยค่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.7.182.25 (พูดคุย | ตรวจ) 05:44, 18 เมษายน 2551 (ICT)

ตามหลักการควรจะเป็นอย่างนั้น แต่ตามความเป็นจริงต้องดูแล้วแต่สถาบันใดเน้นอะไร เช่นสมัยก่อนที่คณะวิทย์จุฬาฯเคยมี แต่ดันไปเน้นในด้านการอาหาร ..........นินจ้อ

วิธีทดสอบวัสดุว่าเป็นแก้วหรือไม่

อยากทราบวิธีการทดสอบวัสดุที่มีลักษณะดูด้วยสายตาและการสัมผัสเหมือนแก้ว ซึ่งอาจจะเป็นแก้วหรือพลาสติกที่ดูเหมือนแก้วมากๆแต่ไม่ใช่แก้วว่าจะมีวิธีการทดสอบให้ทราบได้อย่างไรว่าวัสดุชิ้นนั้นเป็นแก้วหรือไม่ จากหนุงหนิง

ทดสอบความถ่วงจำเพาะสิครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 15:36, 17 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ถ้าไม่เช่นนั้น ใช้เรื่องความแข็ง (hardness) ตามสเกลของโมส์ ก็ได้ครับ--ญนืเหฟะนื นนืพนก 19:34, 12 กรกฎาคม 2551 (ICT)

คิดอะไรมากมาย จับดูก็รู้แล้ว หรือถ้าไม่มั่นใจก็ ทุบสิครับ ยังไงแก้วก็เป็นพวกวัสดุแข็งเปราะ (brittle) ทุบแล้วแตกกระจายอยู่แล้ว ส่วนพาสติก เป็นพวกวัสดุเหนียว (ductile) ทุบยังไงก็ไม่แตก (เพราะคำตอบมันแค่นี้ไง เลยไม่อยากตอบมาแต่แรก)--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 19:59, 12 กรกฎาคม 2551 (ICT)

เซลล์วิทยา

อยากทราบว่าใครเป็นคนคิดค้นพบวิชาเซลล์วิทยา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.157.184.204 (พูดคุย | ตรวจ) 12:45, 27 เมษายน 2551 (ICT)

แมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) เป็นผู้เสนอทฤษฏีของเซลล์ว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ดูเพิ่มเติมได้ใน เซลล์ (ชีววิทยา)

โรค

การที่มีอาการเจ็บบริเวณช่วงต้นคอรู้สึกหายใจติดขัด เวลามีบาดแผลเลือดออกน้อยมาก และร่างการซีดเหลืองและผ่อมลงมาก เกิดจากสาเหตุอะไรครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.155.76 (พูดคุย | ตรวจ) 14:00, 27 เมษายน 2551 (ICT)

วิกิพีเดียไม่ใช่ที่ปรึกษาทางการแพทย์และกฎหมาย ปุจฉา-วิสัชนาไม่ใช่แพทย์หรือทนายความ ดังนั้นกรุณาอย่าถามคำถามทางด้านกฎหมายและการแพทย์เช่น "ป่วยเป็นโรคมาลาเรีย กินยาตัวไหนดี" หรือ "มาตราที่ 34 วรรคนี้ เอามาฟ้องคดีได้ไหม" เป็นต้น เนื่องจากวิกิพีเดียไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตของผู้อื่นได้ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 67.159.44.138 (พูดคุย | ตรวจ) 07:44, 28 เมษายน 2551 (ICT)