วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/มิถุนายน 2553

มหากษัตริย์

ดารา

คำว่าดารา ในภาษาอังกฤษแปลว่าอะไร--125.27.90.31 13:12, 27 มิถุนายน 2553 (ICT)

celebrity (ผู้มีชื่อเสียง) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า star --octahedron80 13:15, 27 มิถุนายน 2553 (ICT)

สังเกต

เหตุใดจึงบอกว่าคำว่าสังเกตต้องเขียนเป็นสังเกตจึงถูกต้องเหตุใดสังเกตจึงกลายเป็นคำเขียนผิด--202.133.176.164 13:04, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

"สังเกต" เป็นคำมูลมาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งคำ ซึ่งไม่มีสระอุตั้งแต่แรกนะครับ มิได้เป็นการประสมระหว่าง สัง กับ เกต (หรือเกตุก็ตามแต่) ลองดูที่ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ --octahedron80 13:25, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

เหตุใดจึงมีการตั้งนามสกุลที่มีคำว่า สังเกต เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ถ้าไม่มีที่มาที่ไป--202.133.176.164 13:43, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

เพราะสะกดผิดไงครับ อย่างไรก็ดี ชื่อบุคคลนั้นไม่จำเป็นต้องตรงตามหลักภาษาหรือมีความหมายเสมอไป ตัวอย่างนั้นมีมากมาย --octahedron80 13:55, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

คำในหลักศิลาจารึก

ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ได้รับรู้โดยทั่วไปจารึกไว้ว่า แม่กูชื่อนางเสือง พ่อกูชื่อบานเมือง อยากถามว่า กู และ มึง ถึงได้บอกบอกว่าเป็นคำหยาบ และแก้ไขสรรพนามต่างๆที่ใช้กันทุกวันนี้ทั้งที่คำนี้บัญญัติโดยอดีตพระมหากษัตรย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย การแก้ไขเหล่านี้ หากตามกฏหมายปัจจุบันจะเรียกว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่--202.133.176.164 14:17, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

สมัยนั้น กูและมึง ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไป เปรียบดั่ง คุณและผม ที่ใช้กันในสมัยนี้ สมัยนั้นยังไม่มีราชาศัพท์ด้วยซ้ำ เมื่อเวลาผ่านไป ภาษาและวัฒนธรรมก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นว่า กูและมึง ในปัจจุบันถือว่าเป็นคำสามัญที่ไม่สุภาพ ไม่สมควรใช้กับผู้ที่ไม่คุ้นเคยเป็นการส่วนตัว และเกิดการใช้ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ขึ้น ภาษาเปลี่ยนแปลงไปเองไม่มีใครเป็นผู้แก้ไข ถ้าคุณจะหาคนที่ทำให้เปลี่ยนแปลงละก็ คงเป็นชาวไทยทุกคนตั้งแต่อดีตเป็นต้นมารวมทั้งคุณและผม โปรดทราบถึงความหมายว่า การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือการกระทำการอันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรืออาฆาตมาดร้ายองค์พระมหากษัตริย์ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของภาษาไม่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือการหมิ่นประมาทใคร --octahedron80 14:29, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

คำว่า ประวัติศาสตร์ คำว่าอาชญากรรม

คำว่า ประวัติศาสตร์ เมื่อก่อนให้่านว่า ประ-หวัด-สาด แต่ตอนหลังก็ให้อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด คำว่าอาชญากรรม เมื่อก่อนให้อ่านว่า อาด-ชะ-ยา-กำ แต่ตอนหลังก็ให้อ่านว่า อาด-ยา-กำ การแก้ไขคำอ่านในพจนานุกรมตามใจของนักวิชาการแล้วมาบังคับใช้ในการเรียนการสอน มาจากสมมุติฐานใด หากไม่ยึดหลักการ ใครมีอำนาจก็จะแก้ไขได้ตามอำเภอใจใช่หรือไม่ โดยประชาชนที่ต้องใช้ภาษาไม่มีส่วนออกความคิดเห็นเลยหรือ?--202.133.176.164 14:45, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

หากพิจารณาหลักการของภาษาบาลีสันสกฤต ประวัติศาสตร์ ควรอ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด เพราะเป็นคำสมาส ส่วนคำว่า อาชญากรรม ในส่วน อาชญา "ช" เป็นตัวสะกดของพยางค์แรก ไม่มีอะ จึงอ่าน อาด-ยา-กำ อย่างไรก็ตามการอ่านแบบที่สองที่คุณยกมานั้นเป็นความนิยมของประชาชน ท่านจึงกำหนดให้ปัจจุบันสามารถอ่านได้สองแบบ และยังมีอีกหลายคำที่แก้ไขให้อ่านได้ทั้งสองแบบ (โปรดดูพจนานุกรม) ถ้าอยากออกความคิดเห็น เชิญไปที่เว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถานครับ มาบ่นที่นี่คงไม่ได้อะไร และก่อนถามอะไรโปรดค้นคว้ามาก่อน เพราะคุณอาจทราบคำตอบก่อนโดยไม่ต้องถามก็ได้ --octahedron80 14:56, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)