วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/มกราคม 2553

เหวิน

คำว่า เหวิน หมายความว่าอย่างไร นายสุริยา หรินทะชาติ --202.28.27.5 01:38, 3 มกราคม 2553 (ICT)

อาจเป็นคำในภาษาจีนกลาง ความหมายโดยนัยของ "เหวิน" (文) แปลว่า "ภาษา" แต่ความเป็นจริงคือในภาษาจีนกลางยังมีคำว่าเหวินอีกหลายคำและหลายความหมาย --octahedron80 02:00, 3 มกราคม 2553 (ICT)

กรุณาระบุคำถามให้ชัดเจนว่าต้องการทราบความหมายของ "เหวิน" ในภาษาอะไร และคำที่ให้มานั้นประสงค์ให้อ่าน เห-วิน หรือ ว่า เหวิน รวมถึงถ้าให้บริบทของคำดังกล่าวมาด้วยก็จะสามารถตอบได้อย่างชัดเจน--taweethaも 15:06, 5 มกราคม 2553 (ICT)

"เจ้าหน้าที่ของรัฐ"กับ"ข้าราชการ"

"เจ้าหน้าที่ของรัฐ"กับ"ข้าราชการ"ต่างกันอย่างไร --ดีออน 19:10, 11 มกราคม 2553 (ICT)

คำตอบ ๑

เจ้าหน้าที่รัฐเป็นคำที่กว้างกว่า และอาจมีนิยามแตกต่างกันไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการในปัจจุบันถือเป็นลูกจ้างของรัฐบาลไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ เป็นตำแหน่งงานถาวร มีสวัสดิการเฉพาะ และมีอัตราตำแหน่งรองรับ อนึ่งต้องพิจารณาบริบทของคำที่ใช้ด้วยจะได้ตีความหมายได้ถูกต้อง ทั้งนี้ขอยกนิยามในพจนานุกรมมาให้ดูประกอบ

ข้าราชการ น. (โบ) คนที่ทําราชการตามทําเนียบ; ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ; (กฎ) บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ.

— พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

เจ้าหน้าที่ น. ผู้มีหน้าที่, ผู้ปฏิบัติหน้าที่.

— พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

เจ้าพนักงาน (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็นประจําหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทําหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย.

— พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

--taweethaも 09:30, 12 มกราคม 2553 (ICT)

คำตอบ ๒

  1. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ วรรคสอง
    " 'เจ้าหน้าที่ของรัฐ' หมายความว่า
    (๑) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง
    (๒) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ
    (๓) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าของรัฐตาม (๑) หรือ (๒)"
  2. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ วรรคแรก
    " 'หน่วยงานทางปกครอง' หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง"
  3. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    1. "ข้าราชการ" หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ
    2. หมายเหตุว่า "เงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน" คือ ทุกปีงบประมาณจะมีการตั้งเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นพระราชบัญญัติ หมวดเงินเดือนเป็นรายจ่ายหมวดหนึ่งในงบประมาณเช่นว่า
  4. ดูเพิ่ม ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เกี่ยวกับความเป็นหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    บันทึก สคก. เรื่อง การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ (กรณีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า ตนมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จึงขอหารือ)

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๑.๑๖, ๒๓:๒๔ นาฬิกา (ICT)

ฐณรรษกร อ่าน อย่างไร

อยากทราบว่า ฐณรรษกร อ่านออกเสียงอย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.141.21 (พูดคุย | ตรวจ) 11:13, 20 มกราคม 2553 (ICT)

น่าจะเป็น "ถะ-นัด-สะ-กอน" อย่าถามความหมาย เพราะไม่มีแน่นอน --octahedron80 15:54, 20 มกราคม 2553 (ICT)