วิกฤตน้ำยาฆ่าเชื้อถูกเจือจางในประเทศโรมาเนีย พ.ศ. 2559

วิกฤตน้ำยาฆ่าเชื้อถูกเจือจางในโรมาเนียเมื่อปี ค.ศ. 2016 ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในระบบสาธารณสุขในประเทศโรมาเนีย นับตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 2016 สื่อโรมาเนียเริ่มเปิดเผยว่าระบบสาธารณสุขในโรมาเนียใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ถูกเจือจางของบริษัทยาเฮซีฟาร์มา (Hexi Pharma) บริษัทยาที่ซึ่งมีเรื่องอื้อฉาวคล้ายกันมาก่อนในปี 2006

ภูมิหลัง แก้

ไลังเหยื่อบางส่วนของเหตุเพลิงไหม้ไนต์คลับคอลเลกทีฟเสียชีวิตจากการติดเชื้อจากสถานพยาบาล ประเด็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลในระบบสาธารณสุขของโรมาเนียได้กลับมาเป็นที่สนใจโดยสื่ออีกครั้ง ถึงแม้ว่ารายงานอุบัติการณ์ของการติดเชื้อจะระบุว่ามีลดลงและมีอยู่ต่ำ แต่ก็เป็นที่ทราบกันแล้วว่ารายงานเหล่านี้เป็นข้อมูลเท็จ[1][2]

อย่างไรก็ต่ม เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่มีข้อบ่งชี้ที่เสนอว่าน้ำยาฆ่าเชื้อบางส่วนที่ใช้ในโรงพยาบาลไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้น กรมสาธารณสุขอารัด (Public Health Department of Arad) ได้รายงานว่าพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงตามมาตรฐานคือ น้ำยาสครับพอลีไอโอดีน (Polyiodine Scrub) ที่จัดสรรโดยบริษัทเฮซีฟาร์มา (Hexi Pharma)[3] ส่วน ตอร์ (Thor) ผลิตภัณฑ์อีกชนิดของบริษัท ยังถูกนำไปตรวจสอบโดยห้องปฏิบัติการในประเทศฝรั่งเศสของบริษัทคู่แข่ง ANIOS พบว่าสูตรส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ตอร์แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในฉลาก รวมถึงยังพบว่าสารถูกเจือจางอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมารายงานต่อสาธารณะ[4] ตอร์ ซึ่งเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อเหมือนกัน ถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลสูติศาสตร์ในมณฑลอาร์เกช นับจากนั้นได้มีการฟ้องร้องกับบริษัทผู้ผลิต คือ ฟาร์มายูนิเวอร์ซีตี (Farma University) ซึ่งต่อมา บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็นเฮซีฟาร์มา (Hexi Pharma)[5]

ผลตอบรับ แก้

ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2016 มีผู้ประท้วงราวห้าร้อยคนในบูคาเรสต์ท่ามกลางภาวะขาดแคลนเงินอุดหนุนในระบบสาธารณสุขของโรมาเนีย ที่ซึ่งมีแพทย์เฉพาะทางโยกย้ายถิ่นฐานหลายพันคนต่อปี และการใต้โต๊ะเงินเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาลมีอยู่ทั่วประเทศ[6] และในวันที่ 8 พฤษภาคม 2016 ท่ามกลางเรื่องอื้ฉาวนี้ รัฐมนตรีสาธารณสุข Patriciu Achimaș-Cadariu ได้ลาออกจากตำแหน่ง[7]

อ้างอิง แก้

  1. Mihalache, Dan Dumitru. "Infecţiile intraspitaliceşti în România: miracol pe hârtie". Viața medicală. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-05. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  2. Mixich, Vlad. "Miracolul infectiilor din spitalele romanesti". Hotnews.ro. Hotnews. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  3. Călin, Mihail. "Rezistenţa la antibiotice: "Ceasul al 12-lea e pe sfârşite"". Viața medicală. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-05. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  4. "Raport de activitate 2013" (PDF). Dspb.ro. Direcția de Sănătate Publică a Municipiului București. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 August 2015. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  5. Tolontan, Cătălin. "Ei produc, ei se controlează și Ministerul Sănătății se face că nu le găsește sediul!". Tolo.ro. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  6. "Romania's health minister resigns over disinfectant dispute". Salon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-03. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  7. Roșioru, Narcis. "Ministrul Sănătăţii Patriciu Achimaş-Cadariu a demisionat. Cioloş: Am acceptat demisia". Mediafax.ro. Mediafax. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้