ระบบการเงิน เป็นกลุ่มสถาบันที่รัฐบาลจัดหาเงินในเศรษฐกิจของประเทศ ระบบการเงินสมัยใหม่มักประกอบด้วยคลัง โรงกษาปณ์ ธนาคารกลาง และธนาคารพาณิชย์[1]

ระบบการเงินโภคภัณฑ์ แก้

ระบบการเงินโภคภัณฑ์ (commodity money system) เป็นระบบการเงินที่ใช้โภคภัณฑ์ เช่น ทองคำหรือโลหะเงิน เป็นหน่วยของมูลค่าและใช้เป็นเงินกายภาพ เงินนี้จะคงมูลค่าไว้

เนื่องจากมีคุณสมบัติทางกายภาพ ในบางกรณีรัฐบาลอาจประทับตราเหรียญโลหะด้วยหน้า มูลค่าหรือเครื่องหมายที่ระบุน้ำหนักหรือยืนยันความบริสุทธิ์ แต่ค่ายังคงเหมือนเดิมแม้มีการหลอมเหรียญ

เงินที่มีโภคภัณฑ์รองรับ แก้

เงินตราหลายสกุลประกอบด้วยธนบัตรที่ธนาคารออกให้โดยไม่มีมูลค่ายทางกายภาพติดตัว แต่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นโลหะมีค่าเช่นทองได้ (เรียก มาตรฐานทองคำ) มาตรฐานเงินแพร่หลายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และใช้กันจนถึงปี 1935 เมื่อจีนและฮ่องกงเลิกใช้

อีกทางเลือกหนึ่งที่พยายามในศตวรรษที่ยี่สิบคือ bimetallism เรียกอีกอย่างว่า "สองมาตรฐาน" (double standard) ซึ่งทองคำและโลหะเงินเป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย[2]

เงินกระดาษ แก้

เงินกระดาษ (fiat money) เป็นเงินที่ธนาคารกลางและกฎหมายของรัฐบาลนิยามว่าเป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แม้ว่าจะไม่มีมูลค่าในตัวเอง เดิมทีเงินกระดาษคือกระดาษหรือเหรียญโลหะฐาน แต่ในเศรษฐกิจสมัยใหม่ส่วนใหญ่ เงินกระดาษมีอยู่ในรูปข้อมูลเป็นหลัก เช่น ดุลธนาคารและบันทึกการซื้อบัตรเครดิตหรือเดบิต[3] และส่วนที่อยู่ในรูปธนบัตรและเหรียญกษาปณ์มีสัดส่วนค่อนข้างน้อย[4] เงินส่วนใหญ่สร้างขึ้นเมื่อธนาคารให้ลูกค้ากู้ กล่าวโดยง่ายว่า การที่ธนาคารให้กู้เงินตราแก่ลูกค่าก่อให้เกิดเงินฝากและการใช้จ่ายขาดดุลมากขึ้น[5]

ในยามปกติ ธนาคารไม่กำหนดปริมาณเงินในระบบ และเงินธนาคารจะไม่เพิ่มจำนวนเป็นเงินกู้และเงินฝากมากขึ้น แม้ธนาคารพาณิชย์สร้างเงินผ่านการกู้ได้ แต่ก็ไม่สามารถกระทำได้โดยไร้ขีดจำกัดทีเดียว ธนาคารถูกจำกัดการให้กู้หากยังต้องการได้กำไรในระบบการธนาคารที่มีการแข่งขัน การวางระเบียบอย่างรอบคอบยังเป็นข้อจำกัดกิจกรรมของธนาคารเพื่อธำรงความยืดหยุ่นของระบบการเงิน และครัวเรือนและบริษัทซึ่งได้รับเงินเพิ่งสร้างจากการให้กู้อาจดำเนินการซึ่งมีผลต่อมูลภัณฑ์ของเงินได้ ตัวอย่างเช่น การ "ทำลาย" เงินหรือเงินตราได้โดยใช้ชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม เป็นต้น[6]

ธนาคารกลางควบคุมการสร้างเงินของธนาคารพาณิชย์โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินสำรอง เป็นการจำกัดปริมาณเงินที่ธนาคารพาณิชย์เต็มใจให้กู้ (การสร้างเงิน) ฉะนั้นจึงมีผลต่อระดับกำไรของการให้กู้ในตลาดแข่งขัน[6]

ระบบการเงินของโลกในปัจจุบันเป็นระบบเงินกระดาษโดยสภาพ เพราะบุคคลสามารถใช้ธนบัตรหรือดุลธนาคารเพื่อซื้อสินค้า

อ้างอิง แก้

  1. "What is monetary system? definition and meaning". BusinessDictionary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-23. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  2. Velde, Francois R., "Following the Yellow Brick Road: How the United States Adopted the Gold Standard". Economic Perspectives, 4th Quarter, 2002. Available at SSRN: http://ssrn.com/abstract=377760 or doi:10.2139/ssrn.377760
  3. Brent Radcliffe. "Fiat Money". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  4. "Money creation in the modern economy: an introduction" (PDF). Bank of England. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  5. Hockett, Robert C.; Omarova, Saule T. (2017). "The Finance Franchise". Cornell Law Review. 102: 1153–1155. doi:10.2139/ssrn.2820176. SSRN 2820176.
  6. 6.0 6.1 "Money creation in the modern economy" (PDF). Bank of England. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้