รถอัดหิน (ballast tamper/tamping machine, ย่อว่า อน.[1]) เป็นเครื่องจักรกลโดยใช้ยานยนต์รางวิ่งบนทางรถไฟประเภทรถเครื่องมือกลหนัก มีหน้าที่ปรับระดับราง แนวรางให้อยู่ในพิกัดที่กำหนด พร้อมอัดหินโรยทางรองทางให้แน่นขึ้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินรถ ตลอดจนสภาพทางรถไฟในการเดินรถที่รวดเร็วและมั่นคงปลอดภัย

รถอัดหินรุ่น Unimat 09-32/4S ขณะปฏิบัติหน้าที่

หน้าที่

แก้

ในอดีต การอัดหินโรยทางรองทางรถไฟ ทำได้โดยการใช้แรงงานคนอัดหินโรยทางรองทางรถไฟ ด้วยเครื่องมืออัดหินขนาดเล็กที่ใช้แรงงานคนจับและเครื่องอัดหินโรยทางขนาดเล็กเขย่า และคอยตบหินโรยทางบริเวณหัวหมอนไม้ให้แน่นเรียบ เสมอระดับหมอนรองรางรถไฟ เป็นการรักษาแนวรางรถไฟให้เป็นแนวตรง โดยตรึงหินโรยทางบริเวณหัวหมอนไม้ให้แน่น ด้วยการตบหินโรยทางให้แน่น แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้หมอนคอนกรีตซึ่งหนักกว่าหมอนไม้มาก(ราว 200 กิโลกรัม) ก็จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่นเครื่องอัดหินโรยทางที่ติดกับแขนกลรถเขย่า[2] หรือเครื่องจักรกลอัดหินที่ติดกับรถเครื่องกลบำรุงทาง ซึ่งอย่างหลังนี้เรียกว่ารถเครื่องกลบำรุงทาง หลักการที่สำคัญของรถเครื่องกลบำรุงทางคือ รถเครื่องกลบำรุงทางจะทำการอัดหินโรยทาง บีบอัดหินโรยทางเข้าใต้ท้องหมอนคอนกรีตรองราง ในทุกท่อนหมอนคนอกรีตรองราง โดยจะมีเครื่องมือกลเป็นโรลเลอร์ยกบริเวณเอวรางให้ลอยขึ้นตามค่าที่กำหนด และวิ่งไปตามเอวรางเดินหน้าไป ในขณะที่รถเครื่องกลบำรุงทางจะทำการบีบอัดหินโรยทางให้แน่บกระชับใต้ท้องหมอน พร้อมดันไปทางซ้ายหรือขวาตามค่าที่ต้องการเพื่อให้ได้แนวรางรถไฟเป็นทางตรง โดยการอัดหินโรยทางเข้าใต้หมอนรองรางจะมีใบอัด(Tamper)ที่จะแหย่ลงไปในหินโรยทางระหว่างช่องว่างหมอนรองรางถึงหมอนรองราง ให้ปลายใบอัดต่ำกว่าหมอนให้หินโรยทางเข้าไป จัดเรียงใต้หมอนรองรางตามที่กำหนดไว้ ทำให้หินโรยทางใต้หมอนรองรางทางรถไฟ ส่วนที่อยู่ใต้หมอนให้แน่นโดยการสั่นสะเทือนและบีบอัดด้วยแรงบีบ โยมีการกำหนดระยะเวลาการทำงานที่เหมาะสมตามกำหนดเวลาว่างของการเดินขบวนรถ[3]

การอัดหิน เป็นการปรับให้เหลี่ยมของหินรองทางรถไฟสามารถขบกันแน่นขึ้น และทนทานต่อแรงกระเทือนของขบวนรถที่วิ่งผ่าน ทำให้เกิดเป็นฐานแผ่ในการรับน้หนักจากขบวนรถที่วิ่งผ่าน

อ้างอิง

แก้