ยุทธการที่วงรอบปูซาน

ยุทธการที่วงรอบปูซาน เป็นการสู้รบขนาดใหญ่ระหว่างกองทัพของกองบัญชาการสหประชาชาติ(UN Command)และกองทัพเกาหลีเหนือที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน นับตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม ถึง 18 กันยายน ค.ศ. 1950 มันเป็นหนึ่งในการสู้รบที่สำคัญเป็นครั้งแรกของสงครามเกาหลี กองทัพทหารบกยูเอ็นกว่า 140,000 นายที่หลังจากถูกผลักดันจนเกือบจะพ่ายแพ้ ได้รวมตัวกันเพื่อทำการสู้รบตั้งรับครั้งสุดท้ายกับการรุกรานของกองทัพประชาชนเกาหลี จำนวน 98,000 นายที่แข็งแกร่งกว่า

ยุทธการที่วงรอบปูซาน
ส่วนหนึ่งของ สงครามเกาหลี
300px|border|alt=Men sit in foxholes watching over a lower terrain feature
ทหารของหน่วยทหารราบสหรัฐที่ 27 กำลังรอการโจมตีของเกาหลีเหนือที่กำลังข้ามแม่น้ำนักดงจากตำแหน่งบนวงรอบปูซาน, 4 กันยายน ค.ศ. 1950.
วันที่4 สิงหาคม - 18 กัยยายน ค.ศ. 1950
สถานที่
ผล สหประชาชาติชนะ
คู่สงคราม

 สหประชาชาติ

 เกาหลีเหนือ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหประชาชาติ ดักลาส แมกอาเธอร์
สหรัฐ Walton Walker
เกาหลีใต้ Chung Il-Kwon
เกาหลีใต้ Shin Sung-Mo
สหรัฐ George Stratemeyer
สหรัฐ Arthur Dewey Struble
เกาหลีเหนือ Choi Yong-kun
เกาหลีเหนือ Kim Chaek
เกาหลีเหนือ Kim Ung
เกาหลีเหนือ Kim Mu Chong
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
สหรัฐ Eighth Army
สหรัฐ Fifth Air Force
สหรัฐ Seventh Fleet
เกาหลีใต้ ROK Army
เกาหลีใต้ ROK Navy
(Main article)

เกาหลีเหนือ People's Army
เกาหลีเหนือ People's Navy
เกาหลีเหนือ People's Air Force

(Main article)
กำลัง
141,808 total (92,000 combat)[1] 98,000 (70,000 combat)[2]
ความสูญเสีย
South Korea: 40,000?+[3]
United States:
4,599 killed
12,058 wounded
2,701 missing
401 captured[4]
60 tanks
United Kingdom: 5 killed, 17 wounded
India: 1 killed
2 war correspondents
60,504 total casualties
63,590 total casualties
3,380 captured[5]
239 T-34 tanks
74 SU-76 guns
แม่แบบ:Campaignbox Pusan Perimeter

กองทัพยูเอ็น,ได้พ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยการรุกของกองทัพประชาชนเกาหลี ได้ถูกบีบบังคับให้ล่าถอยไปยัง"วงรอบปูซาน" แนวป้องกันระยะทาง 140 ไมล์(230 กิโลเมตร)บริเวณรอบพื้นที่ทางปลายสุดด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ซึ่งรวมถึงท่าเรือพูซัน กองกำลังทหารยูเอ็นซึ่งประกอบด้วยกองทัพส่วนใหญ่จากสาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรที่ได้ตั้งฐานทัพแห่งสุดท้ายบริเวณวงรอบ ได้ต่อสู้รบกับการโจมตีอย่างต่อเนื่องของกองทัพประชาชนเกาหลีเป็นเวลาหกสัปดาห์ ในขณะที่พวกเขาได้สู้รบกันบริเวณรอบๆเมืองแทกู, มาซัน(Masan) โปฮัง(Pohang)และแม่น้ำนักดง(Nakdong River) การโจมตีครั้งใหญ่ของกองทัพประชาชนเกาหลีไม่ประสบความสำเร็จในการบีบบังคับกองกำลังทหารยูเอ็นให้ล่าถอยห่างจากเส้นวงรอบ แม้ว่าจะมีการผลักดันครั้งใหญ่สองครั้งในเดือนสิงหาคมและกันยายน

กองกำลังทหารเกาหลีเหนือได้หยุดชะงักจากความขาดแคลนปัจจัยและความสูญเสียครั้งใหญ่ ทำให้เกิดการโจมตีอย่างต่อเนื่องของกองทัพยูเอ็นในความพยายามที่จะเจาะทะลวงเส้นวงรอบและทะลายแนว อย่างไรก็ตาม, สหประชาชาติได้ใช้ท่าเรือนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบอย่างล้นหลามในกองกำลังทหาร อุปกรณ์ และโลจิสิกส์ และกองทัพเรือและกองทัพอากาศที่เหลืออยู่ไม่ได้ถูกขัดขวางโดยกองทัพประชาชนเกาหลีในช่วงระหว่างการรบ ภายหลังหกสัปดาห์ กองทัพประชาชนเกาหลีได้พังทะลายและล่าถอยในความพ่ายแพ้หลังกองทัพยูเอ็นได้เปิดฉากการโจมตีตอบโต้กลับที่อินช็อน เมื่อวันที่ 15 กันยายน และกองทัพยูเอ็นที่อยู่ในวงรอบได้บุกทะลวงจากวงรอบในวันต่อมา การรบครั้งนี้เป็นการรุกของกองทัพประชาชนเกาหลีที่ไปได้ไกลกว่า เช่นเดียวกับผลลัพธ์ของการสู้รบในสงครามกลายเป็นทางตัน

อ้างอิง แก้

  1. Fehrenbach 2001, p. 113.
  2. Appleman 1998, p. 395.
  3. Appleman 1998, p. 605.
  4. Ecker 2004, p. 32.
  5. Appleman 1998, p. 546.