ยุทธการที่นาร์วิก

ยุทธการที่นาร์วิก เป็นการสู้รบ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ถึง 8 มิถุนายน ค.ศ. 1940 เป็นยุทธนาวีในทะเล Ofotfjord และสนามรบทางภาคพื้นดินในภูเขารอบๆเมืองนอร์เวย์ทางเหนือของนาร์วิกเป็นส่วนหนึ่งของการทัพนอร์เวย์ในสงครามโลกครั้งที่สอง

ยุทธนาวีสองครั้งในทะเล Ofotfjord เมื่อวันที่ 10 เมษายน ถึง 13 เมษายน เป็นสู้รบระหว่างกองทัพราชนาวีแห่งอังกฤษและกองทัพเรือครีกซมารีเนอแห่งนาซีเยอรมนี ในขณะที่การทัพภาคพื้นดินสองแห่งเป็นสู้รบระหว่างทหารนอร์เวย์, ฝรั่งเศส อังกฤษ และโปลแลนด์ต่อสู้กับทหารภูเขาเยอรมัน,กะลาสีเรือที่รอดชีวิตจากเรืออัปปางของครีกซมารีเนอและทหารพลโดร่มเยอรมัน(ฟัลเชียร์มเยเกอร์)จากกองพลที่ 7 แม้ว่าจะพ่ายแพ่ในทะเลปิดนาร์วิก การเสียการควบคุมของเมืองนาร์วิกและถูกผลักดันกลับไปยังชายแดนสวีเดน เยอรมันก็ได้เป็นฝ่ายมีชัยในที่สุด เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรได้อพยพออกจากนอร์เวย์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ผลที่ตามมาคือ ยุทธการที่ฝรั่งเศส

นาร์วิกเป็นท่าเรือที่น้ำทะเลจะไม่กลายเป็นน้ำแข็งอยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอนแลนติกสำหรับการขนส่งแร่เหล็กโดยทางรถไฟจากเมือง Kiruna ในสวีเดน ทั้งสองฝ่ายในช่วงสงครามได้ให้ผลประโยชน์ในการจัดหาแร่เหล็กแก่และกีดกันไม่ให้แก่ฝ่ายศัตรู ซึ่งเป็นทิศทางสำหรับการสู้รบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งนับตั้งแต่การบุกครองโปลแลนด์

ก่อนที่เยอรมันจะบุกเข้ายึดครอง กองทัพอังกฤษได้พิจารณาว่า นาร์วิก เป็นจุดลงเรือที่เป็นไปได้สำหรับการรีบเร่งเดินทางเพื่อช่วยเหลือฟินแลนด์ในสงครามฤดูหนาว เช่นนี้แล้ว ในการเดินทางอย่างเร่งด่วนก็ต้องมีศักยภาพในการควบคุมเหมืองสวีเดนและเปิดทะเลบอลติกสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร นักการเมืองฝรั่งเศสได้กระตือรือร้นที่จะเริ่มเปิดแนวรบที่สองที่ห่างไกลจากฝรั่งเศสให้มากที่สุด.