มู้ก (MOOC /mk/) ย่อจาก Massive Open Online Course เป็นคอร์สออนไลน์ที่เน้นการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงอย่างไม่จำกัดผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ[1] นอกเหนือจากการเรียนการสอนจากสื่อปกติ เช่นการอ่านหนังสือ การเข้าห้องเรียนนั่งฟัง และการแก้ปัญหาโจทย์ต่างๆ การสอนแบบมู้กจะเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และผู้ช่วยสอนเป็นหลัก โดยมู้กกำลังเป็นประเด็นที่ถูกนำมาทำวิจัยในหัวข้อของการเรียนรู้ทางไกล[2] มู้กเริ่มเป็นที่รู้จักในปี 2551 และเริ่มเป็นที่นิยมในปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา[3][4]

คำอธิบายตัวย่อของ มู้ก - MOOC

มู้กในช่วงเริ่มต้นเน้นหลักในการเข้าถึงเนื้อหาแบบเปิด ที่เน้นการนำสื่อการเรียนการสอนมาใช้ซ้ำและเผยแพร่ออนไลน์ โดยต่อมาได้มีการเน้นการปฏิสัมพันธ์มากขึ้นเพื่อให้มีการพัฒนาความรู้ต่อยอดกันอีกต่อหนึ่ง

อ้างอิง แก้

  1. Kaplan Andreas M., Haenlein Michael (2016) Higher education and the digital revolution: About MOOCs, SPOCs, social media, and the Cookie Monster, Business Horizons, Volume 59. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S000768131630009X
  2. Bozkurt, A., Akgun-Ozbek, E., Onrat-Yilmazer, S., Erdogdu, E., Ucar, H., Guler, E., Sezgin, S., Karadeniz, A., Sen, N., Goksel-Canbek, N., Dincer, G. D., Ari, S.,& Aydin, C. H. (2015). Trends in distance education research: A content analysis of journals 2009-2013. International Review of Research in Open and Distributed Learning, 16(1),330-363. https://www.academia.edu/11056576/Trends_in_Distance_Education_Research_A_Content_Analysis_of_Journals_2009-2013
  3. Pappano, Laura. "The Year of the MOOC". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  4. Lewin, Tamar (20 February 2013). "Universities Abroad Join Partnerships on the Web". New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 March 2013.