มูดิก (อินโดนีเซีย: Mudik) หรือ ปูลังกัมปุง (อินโดนีเซีย: pulang kampung) เป็นคำภาษาอินโดนีเซีย หมายถึงกิจกรรมซึ่งแรงงานที่อพยพเข้ามาทำงานในเมืองเดินทางกลับบ้านเกิด ในช่วงระหว่างหรือก่อนวันหยุดสำคัญอย่างเลอบารัน (อีดิลฟิฏร์)[2] ถึงแม้จะมีการมูดิกเกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วทั้งอินโดนีเซีย แต่มูดิกใหญ่สุดและสำคัญสุดอยู่ที่เขตจาการ์ตาและปริมณฑล ซึ่งผู้คนเดินทางออกจากนครราวหลายล้านคน ส่งผลให้ท่าเรือ สถานีรถไฟ สนามบิน อัดแน่นไปด้วยผู้คน รวมไปถึงทางด่วนสายต่าง ๆ ที่อัดแน่นด้วยรถรา โดยเฉพาะสายทรานส์ชวา และสายชายฝั่งเหนือของชวา[3]

ทอ้งถนนเตรียมไปด้วยผู้คนลนรถจักรยานยนต์ขณะกำลังกลับบ้านในเทศกาลมูดิก[1]

มูดิกในระหว่างเทศกาลอีดิลฟิฏร์และเทศกาลสำคัญอื่นของศาสนาอิสลามสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศมุสลิม เช่นประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย (ซึ่งเรียกว่า บาลิกกัมปุง), ปากีสถาน[4] และ บังกลาเทศ[5]

ศัพทมูล แก้

 
มูดิกทางเรือบนแม่น้ำสายหนึ่งในรีเยา

คำว่า mudik ในภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า "การล่องเรือหรือเดินทางไปยัง udik (ต้นน้ำ, แผ่นดิน) โดยทางแม่น้ำ".[6] ส่วน Pulang kampung แปลตรงตัวง่าย ๆ ว่า "กลับบ้าน" โดยคำว่ากัมปุง แปลว่า "หมู่บ้าน"

อ้างอิง แก้

  1. Sri Lestari (7 July 2016). "Mudik gratis 'tak berhasil' kurangi jumlah pengendara sepeda motor". BBC Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย).
  2. Donny Syofyan (13 July 2015). "Lebaran and local pride in the annual 'mudik' custom". The Jakarta Post.
  3. Callistasia Anggun Wijaya (1 July 2016). "Mass exodus to begin in Jakarta this weekend". The Jakarta Post. Jakarta.
  4. "Cerita Mudik di Pakistan". Republika (ภาษาอินโดนีเซีย). 17 July 2015.
  5. (ในภาษาอินโดนีเซีย) Tradisi Mudik di Bangladesh, Kaskus.
  6. "Mudik". Kamus Besar Bahasa Indonesia (KBBI) (ภาษาอินโดนีเซีย).