มลพิษทางสายตา
มลพิษทางสายตา หรือ มลพิษทางทัศนียภาพ บ้างก็เรียก มลทัศน์ เป็นการเสื่อมสภาพในทัศนียภาพที่สามารถมองเห็น และคุณภาพเชิงลบทางสุนทรียภาพของทัศนียภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบ ๆ ตัวผู้คน[1] มลพิษทางสายตาสร้างผลกระทบหลายประการทางมลภาวะที่มีต่อการลดทอนคุณภาพของทัศนียภาพซึ่งเกิดจากแหล่งของมลพิษที่หลากหลายรวมกัน มลพิษทางสายตารบกวนคุณภาพอันเหมาะสมในการใช้งานและความรื่นรมย์ที่มีของบริเวณนั้น ๆ จำกัดความสามารถในการขยายระบบนิเวศตั้งแต่มนุษย์สู่สัตว์ อีกทั้งยังรบกวนไม่ให้ใช้ชีวิตหรือเข้าถึงที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น แม้ว่ามลพิษทางสายตามีสาเหตุมาจากแหล่งธรรมชาติ (เช่น ไฟป่า) แต่สาเหตุสำคัญนั้นเกิดจากมนุษย์
มลพิษทางสายตาสามารถรับรู้ได้ผ่านระดับการวิเคราะห์ตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ ที่ส่งผลกระทบเพียงปัจเจกบุคคลจนถึงปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในภาพรวม ปัญหาของมลพิษทางสายตาอาจอยู่ในรูปแบบของถุงพลาสติกติดอยู่บนต้นไม้ ป้ายโฆษณาที่มีสีและเนื้อหาที่ขัดแย้งกันอันก่อให้เกิดการอิ่มตัวเกิน (oversaturation) ของข้อมูลทางสายตามนุษย์ในทัศนียภาพ[2][3] จนถึงผลกระทบในภาคชุมชนโดยรวม เช่น ความแออัดยัดเยียด (overcrowding), สายไฟเหนือศีรษะ หรือ การจราจรแออัด เป็นต้น การวางผังเมืองที่ไม่ดีและสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นขัดแย้งกับพื้นที่ธรรมชาติอาจส่งผลให้สร้างความเหินห่างออกจากภูมิทัศน์โดยรอบ[4][5]
ผลกระทบของมลพิษทางสายตานั้นก่อให้เกิดอาการแสดงหลัก เช่น ภาวะใจวอกแวก, อาการตาเพลีย, การลดลงของความหลากหลายทางความคิด และการสูญเสียอัตลักษณ์ส่วนบุคคล[4] นอกจากนี้ยังทำให้การตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อความเครียด (biological stress responses) นั้นเพิ่มขึ้นและทำให้เสื่อมเสียการกำหนดรู้การทรงตัว[6] ขณะที่แหล่งที่มารองของมลพิษนั้นเป็นการผสมรวมกับผลกระทบที่มีของแหล่งที่มาหลักของมลพิษ เช่น แสง หรือมลภาวะทางเสียงสามารถสร้างข้อกังวลและวิกฤติทางสาธารณสุขหลายประการ
อ้างอิง
แก้- ↑ Futura-Sciences. "Visual pollution". Futura-Sciences (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
- ↑ Chmielewski, Szymon; Lee, Danbi J.; Tompalski, Piotr; Chmielewski, Tadeusz J.; Wężyk, Piotr (4 November 2015). "Measuring visual pollution by outdoor advertisements in an urban street using intervisibility analysis and public surveys". International Journal of Geographical Information Science. 30 (4): 801–818. doi:10.1080/13658816.2015.1104316. S2CID 425572.
- ↑ Chmielewski, Szymon (November 2020). "Chaos in motion: Measuring Visual Pollution with Tangential View Landscape Metrics". Land. 9(12), 515 (12): 515. doi:10.3390/land9120515.
- ↑ 4.0 4.1 Yilmaz, Demet; Sagsoz, Ayse (28 April 2011). "In the Context of Visual Pollution: Effects to Trabzon City Center Silhoutte". Asian Social Science. 7 (5). doi:10.5539/ass.v7n5p98.
- ↑ Nagle, John (1 January 2012). "Cell Phone Towers as Visual Pollution". Notre Dame Journal of Law, Ethics & Public Policy. 23 (2): 537. SSRN 1463592.
- ↑ Wibble, Tobias; Södergård, Ulrika; Träisk, Frank; Pansell, Tony (3 January 2020). "Intensified visual clutter induces increased sympathetic signalling, poorer postural control, and faster torsional eye movements during visual rotation". PLOS ONE. 15 (1): e0227370. doi:10.1371/journal.pone.0227370. PMC 6941927. PMID 31900468.