ภาษาอโมไรต์ เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่พูดโดยเผ่าอโมไรต์ในประวัติศาสตร์ยุคต้นของตะวันออกกลาง เป็นที่รู้จักจากบันทึกของชาวอัคคาเดียระหว่างช่วงที่ชาวอโมไรต์เข้าปกครองบาบิโลเนีย (2,357 – 457 ก่อนพุทธศักราช) และพบในบันทึกของชาวอียิปต์ยุคต้น ชื่อสถานที่แห่งหนึ่งคือ "Snir" (שְׂנִיר) เป็นที่รู้จักจากคัมภีร์ไบเบิล ลักษณะทั่วไปของภาษานี้ได้แก่

  • มีการแยกการกสัมบูรณ์ – ไม่สัมบูรณ์เช่นเดียวกับภาษาตระกูลเซมิติกอื่นๆ รวมทั้งปัจจัย -a สำหรับบุรุษที่ 3 (ต่างจากภาษาอัคคาเดียและภาษาฮีบรู), และสระไม่สัมบูรณ์ -a-, เช่นเดียวกับภาษาอาหรับ ต่างจาก -i-. ในภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก
  • มีคำกริยาจากพยัญชนะสองตัวคู่ เช่น Yabanni-Il, “การสร้างของพระเจ้า” (รากศัพท์ bny).
  • มีหลายแห่งที่ภาษาอัคคาเดียใช้ š, ส่วนภาษาอโมไรต์ใช้ h เช่นเดียวกับภาษาฮีบรูและภาษาอาหรับ
  • บุรุษที่ 1 สัมบูรณ์คือ -ti (เอกพจน์), -nu (พหูพจน์), เช่นเดียวกับภาษาคานาอันไนต์
ภาษาอโมไรต์
ประเทศที่มีการพูดเมโสโปเตเมียโบราณ, โดยชาวอโมไรต์
สูญหาย1,457 ปีก่อนพุทธศักราช
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3

อ้างอิง แก้ไข

  • D. Cohen, Les langues chamito-semitiques, CNRS: Paris 1985.
  • I. Gelb, "La lingua degli amoriti", Academia Nazionale dei Lincei. Rendiconti 1958, no. 8, 13, pp. 143-163.
  • H. B. Huffmon. Amorite Personal Names in the Mari Texts. A Structural and Lexical Study, Baltimore 1965