แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นองค์การนอกภาครัฐที่ทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและทั่วโลกซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 1,000 คนทั่วประเทศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ร่วมกับอีก 50 สำนักงานย่อยทั่วโลก โดยสำนักงานของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกับรัฐบาลไทยในปี 2546 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เมื่อปี 2559 มีการก่อตั้งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
ก่อตั้ง2536 (ลงทะเบียนใน พ.ศ. 2546)
ประเภทองค์การนอกภาครัฐ (NGO)
วัตถุประสงค์ปกป้องสิทธิมนุษยชน
สํานักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
สาขาวิชาให้ความสนใจสื่อ, แคมเปญอุทธรณ์โดยตรง, การชุมนุม, การวิจัย
สมาชิก (2559)
ประมาณ 1,000 คน[1]
ภาษาทางการ
ไทย, อังกฤษ
ผู้อำนวยการ
ปิยนุช โคตรสาร[2]
ประธานคณะกรรมการ
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ[3]
สังกัดAmnesty International
เว็บไซต์www.amnesty.or.th

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีผู้สนับสนุนมากถึง 7 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงนักกิจกรรมและอาสาสมัครจาก 150 ประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้ขึ้นต่อรัฐบาลหรือมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ จุดประสงค์ของแอมเนสตี้คือทำงานขับเคลื่อนความคิดเห็นของสาธารณชนเพื่อไปกดดันต่อรัฐบาลใด ๆ ที่ได้ละเมิดสิทธิ์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2520

การรณรงค์ แก้

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ทำงานร่วมทั้งกับภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังได้มีการจัดงานรณรงค์หลายกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการปกป้องสิทธิมนุษยชน

ในเดือนมิถุนายน 2559 แอมเนสตี้ประเทศไทยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการตั้งข้อหาต่อนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 13 คน และให้ปล่อยตัว 7 นักกิจกรรมที่รณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ[4]

คำวิจารณ์ แก้

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้รับเสียงวิจารณ์ในด้านการทำงาน เช่น ในประเด็นเรื่องของโทษประหารชีวิต มีเสียงวิจารณ์ว่า "เห็นใจผู้ร้าย แต่ไม่เห็นใจเหยื่อ" โดยทางแอมเนสตี้ ให้เหตุผลว่า "ไม่ได้อ่อนข้อ หรือยกโทษให้กับผู้กระทำความผิด แต่เรา [แอมเนสตี้] เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ วิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด" หรือประเด็นปัญหาชาวโรฮิงญาในประเทศไทย ก็ได้รับคำวิจารณ์ว่า "องค์กรโลกสวย แต่ไม่เคยช่วยอะไรเลย" แอมเนสตี้มองในแง่ของมนุษยธรรมว่าในช่วงที่ชาวโรฮิงญาเดินทางผ่านมา ก็ต้องเอื้ออำนวยให้เขาได้เข้าถึงสิทธิ์เรื่องของน้ำและอาหาร และมองว่าไม่มีอะไรที่เป็นหลักฐานว่าชาวโรฮิงญาจะก่อให้เกิดปัญหา ทางแอมเนสตี้มีหน้าที่ในการติดตามว่ารัฐได้ทำตามสิ่งเหล่านั้นหรือไม่[5]

ในช่วงที่แอมนาสตี้ ดำเนินงานกระตุ้นรัฐบาลให้ถอนร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... แอมนาสตี้ได้รับเสียงเรียกร้องขับไล่ออกจากประเทศ[6]

อ้างอิง แก้

  1. "แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล คือใคร?". OK Nation Blog. 2008-11-01. สืบค้นเมื่อ 2016-08-02.
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-02. สืบค้นเมื่อ 2016-07-28.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. "Thai activists charged over 'military torture' report". BBC. 26 July 2016. สืบค้นเมื่อ 2 August 2016.
  4. "Amnesty International prepares petition in defence of pro-democracy activists - The Nation". Nationmultimedia.com. 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-08-02.
  5. "คุยกับ 'แอมเนสตี้ ประเทศไทย' องค์กรที่หลายคนมองว่าโลกสวย แต่ไม่เคยช่วยอะไรเลย". brandthink.me.
  6. "เมินเสียงขับไล่พ้นไทย! แอมเนสตี้ยืนหยัดทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน". โพสต์ทูเดย์.