ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 56:
ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนั้น อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะจึงเหมาะกับวิปัสสนายานิก. นอกจากนี้ มหาอรรถกถาของบรรพะนี้ก็อธิบายไว้ตามแนววิปัสสนาด้วย.
 
3. '''สัมปชัญญบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานใดๆ ที่เรียนมาทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถย่อยทั้ง 7 คือ เดินหน้า ถอยหลัง แล เหลียว เหยียด คู้ ใช้สอยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ. คำอธิบายที่เหลือดูคำอธิบายอิริยาบถบรรพะข้างบน.
 
สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัวทั่วพร้อม หมายถึง การรับรู้การเคลื่อนไหวหรือการกระทำทางกายวาจาของตน
 
สัมปชัญญะ จัดอยู่ในธรรมมีอุปการะมากคู่กับสติ ความระลึกได้
 
สัมปชัญญะ เป็นองค์ประกอบของสัมมาสติ คือ สติมา สัมปชาโน อาตาปี หมายถึง สติ สัมปชัญญะ เเละความเพียรกล้า
 
สัมปชัญญะแบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ
 
สาตถกสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวว่า สิ่งที่กำลังจะทำ เป็นอรรถ เป็นประโยชน์หรือไม่ คือจะทำอะไร ให้คิดก่อน คิดเผื่อล่วงหน้าไว้ เช่น คิดว่าเราจะเขียนตัว ก.ไก่ เพื่อเป็นการฝึกคัดลายมือ ถ้าเป็นการเดินจงกรม จะหมายการภาวนาว่า อยากเดินหนอ อยากกลับหนอ อยากยืนหนอ อยากนั่งหนอ เป็นต้น
 
สัปปายสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวว่า สิ่งที่ทำลงไปแล้ว เหมาะสมหรือไม่ เข้ากับเราดีหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรให้เหมาะสมหรือไม่ สัปปายหรือไม่ คือ ทำเสร็จแล้ว ทบทวนสิ่งที่กระทำลงไป เช่น เขียนตัวก.ไก่ เสร็จแล้ว ทบทวนว่า เขียนได้ดีหรือไม่ ควรปรับปรุงแบบไหนจึงจะเขียนสวยขึ้น หรือเขียนถนัดขึ้น ใช้ปากกาแบบไหนจึงเหมาะมือเรา เป็นต้น ถ้าเป็นการเดินจงกรม จะหมายถึง หยุดหนอ เป็นต้น
 
โคจรสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวว่า กำลังทำอะไรอยู่ รู้ตัวในการขยับตัว ในการกำลังเดิน กำลังก้าว กำลังกลับ กำลังลุกขึ้น กำลังนั่งลง ถ้ากำหนดอย่างละเอียด คือกำหนดรู้ตัวในอวัยวะที่เราบังคับได้ บังคับอยู่ เช่น นิ้ว ข้อมือ ข้อศอก หัวไหล่ข้อเท้า ข้อเข่า โคนขา คอ มีงอเข้า มีเหยียดออก มีหมุนเป็นวง หมุนซ้าย หรือ หมุนขวา,ตัว บิดเอว ซ้าย ขวา งอตัว เอนตัวตรงหรือไปด้านหลัง,หนังตา มีกระพริบตา,ลูกตา มีกลอกตาไปซ้าย ขวา ขึ้นบน ลงล่าง ,กล้ามเนื้อหน้า ขยับไปมา,กล้ามเนื้อท้อง เขม่ว เกร็ง พองดัน,กล่องเสียง เปล่งเสียง,กระบังลม สูดเข้า พ่นออก,ลิ้น แลบออก แลบเข้า ขยับไปมา,คาง อ้าออก อ้าเข้า ขยับซ้ายขวา,เป็นต้น เช่น เขียนตัวก.ไก่ก็รู้ตัวว่ากำลังเขียนตัวก.ไก่ ถ้าไม่สัมปชัญญะตัวนี้ ก็จะเขียนตัวก.ไก่ ไม่สำเร็จ ถ้าเป็นการเดินจงกรม เดินหนอ ก้าวหนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ กลับหนอ ยืนหนอ นั่งหนอ เป็นต้น
 
อสัมโมหสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวไม่หลงลืมในกิจที่กระทำ เช่น จะทำข้าวผัด ก็จะเริ่มกำหนดขั้นตอนการกระทำ คือ เตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ ตั้งกะทะ เปิดไฟ ใส่น้ำมัน ใส่กระเทียมพริก ใส่เนื้อ เนื้อสุก ใส่ผักใส่กระเพรา เติมเครื่องปรุงน้ำปลาน้ำตาลซีอิ้ว ชิม ใส่จาน ปิดไฟปิดแก็ส  กิน ล้างภาชนะ เป็นต้น อสัมโมหะคือการกำหนดการกระทำในกิจ ว่าทำอะไรอยู่ ในขั้นตอนไหน มีข้ามขั้นตอน หลงลืมอะไรไปหรือไม่ ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนไหนอย่างไร เช่น จะเขียนคำว่า "เกี่ยวข้อง" เราก็พิจารณาว่าต้องเขียนตัวไหนก่อน เเละเรากำลังเขียนตัวไหนอยู่ เช่นเรากำลังเขียนก.ไก่อยู่ เราเขียนสระเอไปแล้ว ต่อไปจะเขียนสระอี เมื่อเขียนเสร็จก็ทบทวนว่า เขียนครบทุกตัวหรือไป ถ้าครบแล้ว จะเขียนประโยคต่อไปหรือหยุดพัก ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนา จะเป็นอิริยายถย่อย เช่น จะเข้าห้องน้ำเพื่ออุจจาระ เปิดประตู เข้าไปนั่ง เปิดกางเกง ถ่ายท้อง ทำความสะอาดตัวเอง ทำความสะอาดส้วม ใส่กางเกง ลุกขึ้น เช็คความเรียบร้อยการแต่งตัว ความสะอาดในห้องน้ำ เปิดประตู เดินออกไป เป็นการกำหนดช่วงเวลาในการกำหนดสติ ทำให้ไม่สับสนเพราะหลงลืมในการกระทำกิจ
 
4. '''ธาตุมนสิการบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[ธาตุ 4]]อย่าง[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๑๑_สมาธินิทเทส#จตุธาตุววัฏฐานกถา|ย่อ]] คือ แสดงเพียงธาตุดิน (m-มวล) ธาตุน้ำ (a-ความดึงดูด,ความเร่ง,ความหนืด) ธาตุไฟ (t-อุณหภูมิ) ธาตุลม (v,u-ความเร็ว,ความไหว) ซึ่งต่างจาก[http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308 มหาหัตถิปโทปมสูตร]ที่แสดงไว้อย่างละเอียดกว่า. บรรพะนี้เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะธาตุ 4 เป็นรูปปรมัตถ์ ไม่ใช่อารมณ์ของอัปปนา อรรถกถาของบรรพะนี้จึงอธิบายทั้งสองส่วนของสูตรเป็นกรรมฐานวิปัสสนาทั้งหมด คือ จตุธาตุววัตถานในส่วนแรกและภังคญาณในส่วนหลัง.