ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไม้ขีดไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ro:Chibrit แก้ไข: pl:Zapałka
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
ในช่วง พ.ศ. 2383 หรือปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการค้นพบฟอสฟอรัสแดงซึ่งทำให้ผลิตไม้ขีดได้อย่างปลอดภัย แต่ไฟจะติดได้ก็ต้องจุดเฉพาะพื้นที่ที่เตรียมไว้เท่านั้น ผิวสำหรับขีดอยู่ข้างกล่องไม้ขีดมีฟอสฟอรัสแดง ทาติดอยู่ ด้วยยางไม้ gumarbic หรือกาวชนิดอื่น ส่วนที่หัวไม้มี[[โปแตสเซียมคลอเรต]]ซึ่งเมื่อกระทบกับ ฟอสฟอรัสแดง ก็จะเกิดปฏิกิริยาให้ความร้อนมากพอและไฟจะติดขึ้นได้ เรื่องยังมีวัสดุอื่นๆอีกที่สามารถใช้เป็นก้านไม่ขีดไฟได้เช่น ด้ายเคลือบขี้ผึ้ง และกระดาษแข็งเคลือบขี้ผึ้ง แต่วัสดุที่ใช้ทำก้านไม้ขีดได้ดีที่สุดก็คือ[[ไม้]] ลักษณะไม้ซึ่งเหมาะสำหรับทำก้านไม้ขีดควรจะเป็นไม้สีขาว ไม่มีกลิ่น เนื้อไม้ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป นิยมใช้[[ไม้มะยมป่า]] [[ไม้มะกอก]] [[ไม้อ้อยช้าง]] [[ไม้ปออกแตก]] เป็นต้น ก่อนจุ่มทำหัวไม้ขีดจะต้องเอาปลายก้านไม้ขีดที่จะติดหัวนั้นไปจุ่ม[[ขี้ผึ้ง]][[พาราฟิน]]ก่อน หากเนื้อไม้แข็งเกินไปก็จะไม่ดูดซึมพาราฟิน พาราฟินจะเป็นตัวส่งผ่านจากหัวไม้ขีดไปสู่ก้านไม้ขีด หากไม่มีพาราฟิน
เมื่อไฟติดก็จะดับในทันที และหากเนื้อของไม้อ่อนจนเกินไปก้านไม้ขีดก็จะไม่คงรูปเป็นก้านตรงได้
 
 
== ไม้ขีดไฟในประเทศไทย ==
 
สมัยแรกเป็นการนำเข้าไม้ขีดไฟของสวีเดนและญี่ปุ่น โดยของญี่ปุ่นนั้นมีตราต่างๆ และมีภาพวาดบนฉลากไม้ขีดไฟเป็นรูปต่างๆ เรียกว่า หน้าไม้ขีดไฟ มีนักสะสมจะเก็บรวบรวมหน้าไม้ขีดไฟ ต่อมาช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 คนไทยสามารถผลิตไม้ขีดไฟเองได้ มีโรงงานไม้ขีดไฟของเมืองไทยในยุคนั้น ได้แก่ บริษัทมิ่นแซจำกัด ผลิตตรานกแก้ว ตรารถกูบ บริษัทตังอาจำกัด ผลิตตรามิกกี้เม้าท์ ตราแมวเฟลิกซ์ บริษัทไทยไฟ ผลิตตรา 24 มิถุนา เป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ระลึกในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตย บริษัทเอเซียไม้ขีดไฟจำกัด ผลิตชุด ก.ไก่ ข.ไข่ บริษัทสยามแมตซ์แฟ็กตอรี่ ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นบริษัทไม้ขีดไฟไทย ผลิตตราธงไตรรงค์ ตราพระยานาค <ref>http://variety.mcot.net/inside.php?docid=2010&doctype=11</ref>
 
== อ้างอิง ==
<references />
* http://elibrary.abcm.ac.th/section/sec4social/quiz/00428.html