ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธเศรษฐศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Markpeak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ตรวจแก้รูปแบบ}}
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
 
'''พุทธเศรษฐศาสตร์''' คือ การประยุกต์แนวความคิดทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มาใช้อธิบายหลักการและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เป็นแนวทางใหม่ในการทำความเข้าใจเศรษฐศาตร์ ไม่ได้มีข้อโต้แย้งมากมายอไรนักเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์ที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้อยู่ การนำเอาวิธีการอนุมาณเชิงตรรกะเข้ามาใช้ในวิชาเศรษฐศาสตร์ เช่นเดียวกับการนำไปใช้ในวิชาอื่น ๆ แต่ข้อสมมุติขั้นพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักใช้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเพียงพอ นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักส่วนมากไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรในประเด็นนี้ ส่วนใหญ่จะยอมรับไปโดยปริยาย และนักเศรษฐศาสตร์ก็ได้สร้างเครื่องมือการวิเคราะห์ขึ้นบนรากฐานที่เปราะบาง ผลที่ตามมาคือข้อสรุปส่วนใหญ่ที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเผชิญกับการท้าทายจากภาวะวิกฤตได้ ข้อสมมุติพื้นฐานบางส่วนที่สร้างขึ้นมาจากเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นจริง และบางครั้งก็ขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ ซึ่งทำให้พลังในการอรรถาธิบายของเศรษฐศาสตร์แบบเดิมอ่อนลงไปมาก
เส้น 7 ⟶ 8:
ถ้าปราศจากการท้าทายโดยตรงต่อตัวแบบการคิดของเศรษฐศาสตร์ปัจจุบัน จุดอ่อนในการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะไม่ปรากฏขึ้น พุทธเศรษฐศาสตร์ได้เตรียมรับมือกับการท้าทายนี้โดยมุ่งไปยังจุดอ่อนพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและนำเอาแนวคิดเชิงพุทธที่สอดคล้องกับความป็นจริงมากกว่าเข้ามาทดแทนจุดอ่อนนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งคือความพยายามที่จะเยียวยาวิกฤตการณ์ของการวิเคราะห์ที่ซ้ำเติมภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของเอเซียอยู่ในปัจจุบัน
 
 
 
==เศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานและเชิงปทัสฐาน==