ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนทองหล่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Thong for at night.jpg|thumb|ถนนทองหล่อยามค่ำคืน]]'''ถนนทองหล่อ''' หรือ '''ซอยสุขุมวิท 55''' หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''ซอยทองหล่อ''' เป็นเส้นทางจราจรแยกจาก[[ถนนสุขุมวิท]]ใน[[เขตวัฒนา]] [[กรุงเทพมหานคร]] ไปบรรจบกับ[[ถนนเพชรบุรี]]ใน[[เขตห้วยขวาง]] กรุงเทพมหานคร เป็นที่รู้จักทั่วไปว่า เป็นแหล่งรวม[[ร้านอาหาร]]นานาชาติ รวมทั้งศูนย์การค้า ร้านค้าหลายสัญชาติ ร้านค้าแฟชั่น สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน สตูดิโอแต่งงาน และที่พักอาศัยชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น
 
ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560 ซอยทองหล่อห้ามจอดหรือหยุดรถโดยเด็ดขาดตั้งแต่ปากซอย ด้านถนนสุขุมวิทเข้าไประยะทาง 50 เมตร ทั้งสองฝั่ง ห้ามหยุด หรือจอดรถตลอดเวลา ตั้งแต่ระยะ 50 เมตร เข้าไปถึงระยะทาง 200 เมตร ทั้งสองฝั่ง ยกเว้นป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง ห้ามจอดรถตั้งแต่เวลา 6.00-21.00 น. เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่ระยะทาง 200 เมตร เป็นต้นไป ทั้งสองฝั่ง และห้ามจอดรถทุกชนิด ตั้งแต่เวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 16.00-20.00 น. เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้เป็นไปตาม[[ราชกิจจานุเบกษา]] เช่นเดียวกับถนนอีกหลายสายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร<ref>{{cite web|url=http://www.posttoday.com/local/bkk/491284|title=ห้ามหยุดจอดรถในซอย-ถนน|date=2017-04-22|accessdate=2017-04-23|work=[[โพสต์ทูเดย์]]|archive-date=2017-04-24|archive-url=https://web.archive.org/web/20170424235727/http://www.posttoday.com/local/bkk/491284|url-status=dead}}</ref>
 
==ประวัติ==
ชื่อซอยทองหล่อตั้งขึ้นตามชื่อเดิมของ ร.ท. ทองหล่อ ขำหิรัญ ร.น. (ยศในขณะนั้น; สำหรับยศสูงสุด และชื่อซึ่งเปลี่ยนใหม่ภายหลังจากนั้น คือ พล.ร.ต. [[ทหาร ขำหิรัญ]] ) สมาชิก[[คณะราษฎร]]ซึ่งกระทำ[[การปฏิวัติ]][[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|สยาม เมื่อปี พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในซอยนี้ในอดีต <ref>{{cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/jud/sat/20080202/news.php?news=column_25673077.html|title= อาจย้ายมาอยู่ที่นี่ ที่ สุขุมวิท|work= [[กรุงเทพธุรกิจ]]}}</ref> ในสมัยสงครามโลก ซอยทองหล่อเป็นสถานที่ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนผ่านและตั้งฐานทัพขึ้น โดยเมื่อปี พ.ศ. 2503 ยังเป็นถนนสายเล็กและมีคลองขนาบทั้งสองข้างทาง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2523 มีการขยายเพิ่มเป็นหกช่องจราจร พร้อมทั้งปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบ
 
ในช่วง พ.ศ. 2536–2538 ได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองแสนแสบในซอยทองหล่อ<ref>{{cite web |author1=เจนการ เจนการกิจ |title=ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท |url=http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/2409/3/Janekan.pdf |publisher=จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |pages=81}}</ref>
ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560 ซอยทองหล่อห้ามจอดหรือหยุดรถโดยเด็ดขาดตั้งแต่ปากซอย ด้านถนนสุขุมวิทเข้าไประยะทาง 50 เมตร ทั้งสองฝั่ง ห้ามหยุด หรือจอดรถตลอดเวลา ตั้งแต่ระยะ 50 เมตร เข้าไปถึงระยะทาง 200 เมตร ทั้งสองฝั่ง ยกเว้นป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง ห้ามจอดรถตั้งแต่เวลา 6.00-21.00 น. เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่ระยะทาง 200 เมตร เป็นต้นไป ทั้งสองฝั่ง และห้ามจอดรถทุกชนิด ตั้งแต่เวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 16.00-20.00 น. เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้เป็นไปตาม[[ราชกิจจานุเบกษา]] เช่นเดียวกับถนนอีกหลายสายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร<ref>{{cite web|url=http://www.posttoday.com/local/bkk/491284|title=ห้ามหยุดจอดรถในซอย-ถนน|date=2017-04-22|accessdate=2017-04-23|work=[[โพสต์ทูเดย์]]|archive-date=2017-04-24|archive-url=https://web.archive.org/web/20170424235727/http://www.posttoday.com/local/bkk/491284|url-status=dead}}</ref>
 
==การใช้ที่ดิน==
=== ที่ดินและที่พักอาศัย ===
จากผังเมืองปัจจุบันสามารถก่อสร้างตึกสูงเกินกว่า 8 ชั้นได้จึงมี[[อาคารชุด]] เซอร์วิสต์อะพาร์ตเมนต์ เกิดขึ้นทั้งสองฟากถนน และตามซอกซอยต่าง ๆ มีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นแล้วไม่ต่ำกว่า 18 โครงการ<ref name="khaosod">{{cite web|url=http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1ESXlPVE0yTWc9PQ==&catid=|title= ซอยทองหล่อ ทำเลไข่แดง ย่านการค้ากำลังซื้อสูงกลางเมือง|work=[[ข่าวสด]]}}</ref>
 
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2557 ย่านทองหล่อ เอกมัย ถือเป็นทำเลยอดนิยมของการซื้อขายที่ดินเป็นอันดับ 1 (รองลงมาคือ พญาไท พหลโยธิน สนามเป้า สะพานควาย) บางแปลงมีการซื้อขายกันที่ 1,200,000-1,800,000 บาทต่อตารางวา<ref>{{cite web | title = เปิดทำเลฮอต!!! ราคาที่ดินแพงสุดกลางกรุงปี 57| url = http://www.propertychannelnews.com/scoop/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%95!!!-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5-57/211/ | publisher = propertychannelnews | date = 2557-11-18 | accessdate = 2558-4-5}}</ref> ราคาเพิ่มขึ้นไปถึง 22% จากปี 2555 อยู่ที่ 900,000 บาทต่อตารางวา เหตุเพราะมีชาวต่างชาติหลากหลายสัญชาติอาศัยอยู่ ส่งผลให้พื้นที่นี้สามารถเติบโตได้ดีจากตลาดผู้เช่าเพื่อการอยู่อาศัย<ref>{{cite web | title = ที่ดินทองหล่อซื้อขายวาละ1.3ล้าน| url = http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000136023 | publisher = ผู้จัดการ | date = 2557-11-25 | accessdate = 2558-4-2}}</ref> โดยช่วงกลางซอย (ไม่เกินซอยทองหล่อ 15) มีราคาสูง โครงการคอนโดมีเนียม สร้างแล้วกว่า 4,000-5,000 ยูนิต ส่วนใหญ่มีราคาขายตารางเมตรละกว่า 100,000 บาท หรือยูนิตละกว่า 4 ล้านบาท สำหรับที่อยู่เพื่อเช่าอย่างเซอร์วิสต์อะพาร์ตเมนต์และอะพาร์ตเมนต์มีประมาณ 2,429 ยูนิต มีผู้พักอาศัยต่อเนื่องโดยเฉลี่ยร้อยละ 96 ต่อปี มีราคาเช่าห้องพักระหว่าง 800-1,000 บาทต่อตารางเมตร<ref name="khaosod"/>
 
=== ธุรกิจ ===
การที่ที่พักอาศัยอย่างคอนโดมิเนียมมีราคาขายตารางเมตรละกว่า 100,000 บาท เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก สะท้อนเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม โดยส่วนใหญ่นิยมกินดื่มนอกบ้าน ในซอยทองหล่อจึงเป็นแหล่งรวมของร้านอาหาร และแหล่งบันเทิงจำนวนมาก<ref name="khaosod"/> โดยเฉพาะในช่วงต้นซอยทองหล่อฝั่งสุขุมวิท ตลอดสองฝั่งแนวถนนเป็นแหล่งรวมของร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลี