ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลป พีระศรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 39:
}}
 
ศาสตราจารย์ '''ศิลป พีระศรี''' (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ '''คอร์ราโด เฟโรชี''' (Corrado Feroci) เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของ[[ประเทศไทย|ไทย]]ที่ได้สร้างคุณูปการในทาง[[ศิลปะ]]และมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่[[โรงเรียนประณีตศิลปกรรม]] ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็น[[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] โดยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรคนแรก มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน
 
เขายังเป็นผู้วางรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่วงการศิลปะไทยสมัยใหม่จากการที่ได้พร่ำสอนและผลักดันลูกศิษย์ให้ได้มีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะทั้งงานจิตรกรรมและงานช่าง มีจุดประสงค์ให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะและสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ด้วยความสามารถของบุคลากรของตนเอง การก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงเปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้แก่คนไทยเพื่อที่จะออกไปสร้างศิลปะเพื่อแผ่นดินของตน และถึงแม้จะริเริ่มรากฐานของความรู้ด้าน[[ศิลปะตะวันตก]]ในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันเขาได้ศึกษา[[ศิลปะไทย]]อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากต้องการให้คนไทยรักษาความงามของศิลปะไทยเอาไว้ จึงได้เกิดการสร้างลูกศิษย์ที่มีความรู้ทั้งงานศิลปะตะวันตกและศิลปะไทยออกไปเป็นกำลังสำคัญให้แก่วงการศิลปะไทยเป็นจำนวนมาก และเกิดรูปแบบงานศิลปะไทยสมัยใหม่ในที่สุด
 
ด้วยคุณูปการนี้เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของประเทศไทย โดยเฉพาะในงานประติมากรรมที่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากมายที่สร้างไว้แก่ประเทศไทย ได้แก่ [[พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์|พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล]], [[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]], [[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] และรวมไปถึง [[วงเวียนใหญ่|พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่]], [[พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]], [[อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี]] และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น [[บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย]] และเป็น [[ผู้วางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร]] โดยในวันที่ [[15 กันยายน]] ของทุกปีจะถือเป็น[[วันศิลป พีระศรี]] ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปีเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยนานัปการ
 
== ประวัติ ==