ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kajitto (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kajitto (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31:
 
== พระกรณียกิจ ==
[[พ.ศ. 2334]] เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชจึงแบ่งไพร่พลบ้านสิงห์ท่าส่วนหนึ่งมาอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ จึงมีใบบอกขอพระราชทานตั้งให้เจ้าท้าวคำสิงห์เป็นเจ้าราชวงศ์[[เมืองโขง]] หรือ สีทันดอน (ต่อมา พ.ศ.2357 รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นที่[[พระสุนทรราชวงศา]] ดำรงฐานะเจ้าพระประเทศราชผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราชองค์แรก) และขอพระราชทานตั้งให้เจ้าบุตรไปเป็นเจ้าพระประเทศราชผู้ครองเมืองนครพนม เพราะเวลานั้นยังว่างเว้นเจ้าผู้ครองเมืองอยู่
 
พ.ศ. 2335 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ให้ไพร่พลก่อเจดีย์ไว้ที่วัดสมอเลียบสักเมือง เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของเจ้าพระวอ เรียกขานว่า '''ธาตุพระวอ'''
 
พ.ศ. 2338 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกขอรับพระราชทานเจ้าท้าวทิดพรหมขึ้นเป็นเจ้าพระประเทศราชผู้ครองเมืองอุบลราชธานีสืบต่อไป และเจ้าท้าวก่ำ (บุตรเจ้าพระวอ) เป็นเจ้าอุปราช ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าท้าวทิดพรหมเป็นที่ '''เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์''' เจ้าพระประเทศราชผู้ครองเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 2 และเจ้าท้าวก่ำเป็นที่เจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี
 
[[พ.ศ. 2339]] เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ย้ายเมืองนครจำปาศักดิจากที่เดิมซึ่งอยู่ที่บ้านศรีสุมัง ริมฝั่ง[[แม่น้ำโขง]] มาตั้งอยู่ในบริเวณบ้านคันเกิงอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้าม[[ปากเซ|ปากแม่น้ำ]][[แม่น้ำเซโดน|เซโดน]] (ปัจจุบันเรียกว่า เมืองเก่าคันเกิง อยู่ที่บ้านเมืองเก่า เมืองโพนทอง [[แขวงจำปาศักดิ์]] [[ประเทศลาว]]) และได้สร้างพระวิหารไว้เป็นที่ประดิษฐาน[[พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย|พระแก้วขาว]] ที่อัญเชิญข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาในเมืองใหม่ แต่ความก็ไม่ปรากฏทราบมาถึงกรุงเทพฯ
 
[[พ.ศ. 2348]] เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอรับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนายอนเป็นเมือง [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านนายอนขึ้นเป็นเมืองสพาดตามคำขอนั้น
 
[[พ.ศ. 2353]] มีครัว[[ชาวเขมร]]ภายใต้การนำของพระยาเดโช เจ้า[[เมืองกำปงสวาย]] กับนักปรัง ผู้น้องชาย อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบ[[เมืองโขง]] เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวเกิดความขัดแย้งกับ[[สมเด็จพระอุทัยราชา]] (นักองจัน) พระเจ้าแผ่นดิน[[กัมพูชา]] เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกแจ้งเรื่องลงมายัง[[กรุงเทพฯ]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[พระยากลาโหมราชเสนา]] คุมกำลังมาคุมครัวเขมรของพระยาเดโชมาตั้งอยู่ที่บ้านลงปลา ส่วนครัวของนักปรังให้แยกมาตั้งอยู่ที่เมืองเซลำเภา<ref>ปัจจุบันคือเมือง[[ธาราบริวัตร]] อยู่ในเขต[[จังหวัดสตึงแตรง]] [[ประเทศกัมพูชา]]</ref> "จึ่งมีเขมรแทรกปนอยู่ในแขวง[[เมืองโขง]]แต่นั้นมา"<ref name="พงศาวดารอีสาน">พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของ[[หม่อมอมรวงศ์วิจิตร]]</ref>
 
== พระโอรส และพระธิดา ==