ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าอนุวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35:
[[พ.ศ. 2368]] เจ้าอนุวงศ์เสด็จถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร. 2 ของสยาม เอกสารฝ่ายสยามคือพระราชพงศาวดารระบุว่าทรงพิจารณาว่ากองทัพสยามอ่อนแอเนื่องจากแม่ทัพนายกองรุ่นเก่าที่มีฝีมือสิ้นชีวิตหลายคน และมีข่าวลือถึงนครหลวงเวียงจันทน์ว่าสยามกับอังกฤษวิวาทกันจากการทำ[[สนธิสัญญาเบอร์นี]] ต่อมากรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สถาปนาขึ้นเป็น ร. 3 เจ้าอนุวงศ์ทูลขอพระราชทาน[[ละครใน]]ของเวียงจันทน์ เจ้าหญิงลาวพระนามเจ้านางดวงคำ<ref>สิลา วีระวงส์, มหา, '''ชีวประวัติพระเจ้าอนุวงศ์''', (เวียงจันทน์: ดอกเกด, 2553 (2010)), หน้า 20.</ref> และชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาสยามสมัยธนบุรีให้กลับคืนบ้านเมืองแต่ไม่อนุญาต อาจเป็นเหตุให้พระองค์ไม่พอพระทัยจึงยกทัพลงมาโดยตั้งใจเข้าตีกรุงเทพฯ ทรงเริ่มวางอุบายแก่เจ้าเมืองลาวตามรายทางว่าจะยกทัพช่วยกรุงเทพฯ รบอังกฤษทำให้กองทัพลาวสามารถเดินทัพผ่านได้โดยสะดวก เอกสารฝ่ายลาวคือพื้นเวียงจันทน์ระบุว่าทรงโปรดฯ ให้เจ้านายหัวเมืองลาวเข้าร่วมตีนครราชสีมาเนื่องจากเจ้านครราชสีมาล่วงล้ำแดนลาวเข้าตีข่า[[สักเลก]]ไปมอบให้สยาม พระองค์ไม่ได้ตั้งใจลงตีกรุงเทพฯ แต่ประการใด บรรดาเจ้าเมืองลาวทั้งสองฝั่งโขงต่างไม่พอใจเจ้าเมืองนครราชสีมาอยู่แล้วจึงร่วมมือกับพระองค์ เช่น พระยาไกรสอนคำแดงเจ้าเมืองภูขัน (ขุขันธ์) พระยาขัติยวงศาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด พระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม พระยานรินทรสงครามเจ้าเมืองสี่มุม เป็นต้น เอกสารฝ่ายสยามระบุว่าเมื่อทัพลาวยกถึงนครราชสีมาทรงฉวยโอกาสที่เจ้าเมืองและพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการที่ขุขันธ์เข้ายึดเมืองและกวาดต้อนครัวโคราชขึ้นไปนครหลวงเวียงจันทน์ เอกสารฝ่ายลาวระบุว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาทราบข่าวทัพลาวยกถึงนครราชสีมาเกรงว่าจะต้องโทษที่ล่วงล้ำแดนนครหลวงเวียงจันทน์และนครจำปาศักดิ์จึงทิ้งเมืองและปลอมตัวหนี เมื่อพระองค์เสด็จถึงวังเจ้านครราชสีมาอันใหญ่โตซึ่งมีถึง 7 หลังและมีพื้นที่บรรจุทหารกว่าพันคนจึงโปรดฯ ให้พระบรมราชา (มัง ต้นสกุลมังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนมเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาแทน ต่อมาเอกสารฝ่ายสยามระบุว่าระหว่างทัพลาวพักไพร่พลเชลยที่ทุ่งสัมฤทธิ์ครัวเมืองนครราชสีมาวางอุบายลวงฆ่าทหารลาวจำนวนมากแล้วตั้งค่ายรอทัพกรุงเทพฯ ขึ้นมาช่วย ทหารลาวเห็นการไม่สำเร็จจึงถอยทัพกลับตั้งมั่นที่นครหลวงเวียงจันทน์เพื่อรอรับศึกสยาม สยามเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้น[[วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์]]ของ[[ท้าวสุรนารี]] (โม หรือโม้) ชายาเจ้านครราชสีมา<ref>เติม วิภาคย์พจนกิจ, '''ประวัติศาสตร์อีสาน''', เรียบเรียงโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2546), หน้า 597-599.</ref> และวีรกรรม[[นางสาวบุญเหลือ]]ธิดากรมการเมืองนครราชสีมา ส่วนลาวไม่พบเอกสารชั้นต้นหรือเอกสารปฐมภูมิระบุวีรกรรมสตรีทั้งสองท่าน ข้อสังเกตในมุขปาฐะฝ่ายลาวระบุว่าท้าวสุรนารีเดิมเป็นชาวลาวมีใจใฝ่สยามจึงร่วมวางแผนกับสยามตีเวียงจันทน์ซึ่งยังไม่พบเอกสารลายลักษณ์มายืนยัน กรณีดังกล่าวลาวระบุว่าเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นวีรกรรมเจ้าเมืองและราชวงศ์ลาวอย่างน้อย 5 ท่านที่จงรักภักดีแก่เวียงจันทน์คือ วีรกรรมพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าจอมนรินทร์ หรือพระยาโนลิน ต้นสกุลลาวัณบุตร์) เจ้าเมืองจตุรัส (เมืองสี่มุม) และเมืองหนองบัวลุ่มภู (หนองบัวลำภู) วีรกรรมพระบรมราชา (มัง บ้างว่าสุตตา) เจ้าเมืองนครพนมและนครราชสีมา วีรกรรมเจ้าอุปอาดและท้าวคำม่วน (คำ) เมืองยโสธร<ref>ประวัติวัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมหายโศก หรือวัดอโสการาม) ในพงศาวดารเมืองยโสธรฉบับพระยามหาอำมาตยาธิบดี พระญาณรักขิต (ใจ ยโสธรัตน์), '''พงศาวดารเมืองยโสธร: พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพพระครูวิจิตตวิโสธนาจารย์ ณ วัดสร่างโศก อำเภอยโสธร วันที่ 23 เมษายน 2491''', (ยโสธร: วัดสร่างโศก อำเภอยโสธร, 2491), หน้า 35. อ้างใน Dararat Mattariganond และ Wiangkum Choun-u-dom, "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเผา "อุปฮาดบุตร และท้าวคำ" เมืองยโสธร", ใน '''Center for Research on Plurality in the Mekong Region (CERP): Proceedings of 13th International Conference on Humanities & Social Sciences 2017 (IC-HUSO 2017) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น'''. (2-3 พฤศจิกายน 2560): 2555.</ref> และวีรกรรมสมเด็จเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) พระราชโอรสของเจ้าอนุวงศ์
 
สงครามนี้ฝ่ายกรุงเทพฯ ทราบข่าวทัพลาวช้ากว่าที่คิดหลังทัพลาวตั้งมั่นที่นครราชสีมา ต่อมาสยามส่งกองลาดตระเวนหาข่าวถึงเมือง[[สระบุรี]] เมื่อ ร. 3 ทราบข่าวศึกจึงโปรดเกล้าฯ [[กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์]]เป็นแม่ทัพใหญ่ยกจากสระบุรี ให้[[เจ้าพระยาบดินทร์เดชาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)|พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี)]] ซึ่งเอกสารฝ่ายลาวเรียกพระยามุนินเดช ยกทัพไปทางเมืองปัก ([[อำเภอปักธงชัย]]) สมทบกันที่นครราชสีมา กองทัพทั้ง 2 ตีทัพลาวแตก ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จลี้ภัยและปรึกษาราชการศึกที่เวียดนามโดยความคุ้มครองของจักรพรรดิเวียดนาม หลังทัพสยามทำลายนครหลวงเวียงจันทน์ได้กรมพระราชวังบวรฯ โปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ปราบเวียงที่หนองคาย และให้พระยาราชสุภาวดีกวาดครัวนครหลวงเวียงจันทน์ไปกรุงเทพฯ ทัพสยามอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญไปจำนวนมาก​ เช่น​ [[พระบาง]] พระแซกคำ ([[พระแทรกคำ]]) พระสันส้มมอ ([[พระฉันสมอ]]) [[พระเสริม]] [[พระสุก]] [[พระใส]] [[พระแสน]] [[พระแก่นจันทน์]] [[พระเงินหล่อ]] [[พระเงินบุ]] [[พระสรงน้ำ]] พระศิลาเขียว ([[พระนาคสวาดิเรือนแก้ว]]) เป็นต้น เอกสารฝ่ายลาวระบุว่ายังมีสมบัติล้ำค่าและพระพุทธรูปประจำหัวเมืองลาวหลายองค์ที่ทัพสยามพยายามอัญเชิญไปแต่ประชาชนลาวนำไปซ่อนในถ้ำก่อน อาทิ พระแสงเมืองนครพนมซ่อนที่เมืองมหาไชย พระแก้วมรกตจำลองซ่อนในองค์พระธาตุพนม พระทองคำจำนวนมากซ่อนในถ้ำปลาฝาและถ้ำพระเมืองท่าแขก เป็นต้น
 
[[พ.ศ. 2370]] ร.3 ไม่พอใจที่พระยาราชสุภาวดีไม่ทำลายนครหลวงเวียงจันทน์ให้สิ้นซากจึงโปรดเกล้าฯ ให้กลับไปทำลายอีกครั้ง ความชอบนี้ทรงโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี ที่[[สมุหนายก]] พระยาพิชัยสงครามคุมทหาร 300 ข้ามโขงดูลาดเลา ได้ความว่าพระ[[จักรพรรดิเวียดนาม|ราชวงศ์เหงียน]]ให้ข้าหลวงเชิญเจ้าอนุวงศ์และ[[เจ้าราชวงศ์ (เหง้า)]] กลับมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามอีกครั้ง เอกสารฝ่ายลาวระบุว่าเจ้าอนุวงศ์ไม่พอพระทัยพระจักรพรรดิเวียดนามที่ไม่มีความจริงใจและคิดแสวงหาทรัพย์สินเงินทองจากลาวครั้นเห็นทหารสยามอาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์จึงนำพลฆ่าฟันขับไล่ทหารสยามออกไป เอกสารฝ่ายสยามระบุว่ารุ่งขึ้นเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) กลับยกพลเข้าโจมตีทหารสยามล้มตายเป็นอันมาก เจ้าพระยาราชสุภาวดีเห็นทหารลาวไล่ฆ่าทหารสยามถึงชายหาดหน้าเมืองพันพร้าวทราบว่าเกิดเหตุร้ายจึงขอกำลังเพิ่มจากเมืองยโสธร เจ้าอนุวงศ์โปรดฯ ให้เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) นำพลข้ามตามมาปะทะทัพสยามที่ค่ายบกหวาน บ้านบกหวาน เมืองหนองคาย สู้กันถึงขั้นตะลุมบอน แม่ทัพทั้ง 2 รบกันตัวต่อตัวจนบาดเจ็บปรากฏฝ่ายเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) มีชัย ส่วนเจ้าพระยาราชสุภาวดีแพ้ราบคาบเพราะถูกฟัน ทหารสยามยิงปืนต้องเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) บาดเจ็บเล็กน้อย ทัพสยามเร่งติดตามทัพลาวถึงพันพร้าวปรากฏทัพลาวข้ามโขงไปแล้ว ทหารลาวหามเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ไปรักษาพระองค์ในค่ายและไม่ปรากฏเรื่องราวของพระองค์อีกเลย