ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิราศสุพรรณ (สุนทรภู่)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 9:
| ลิขสิทธิ์ = กรมศิลปากร
}}
'''นิราศสุพรรณ''' เป็นผลงาน[[กวีนิพนธ์]]แบบ[[โคลง]]ประพันธ์โดย[[สุนทรภู่]] เป็น[[นิราศ]]เรื่องแรกและเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์[[โคลงสี่สุภาพ]] เข้าใจว่าต้องการลบคำสบประมาทว่าตนแต่งได้แต่เพียงกลอน เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณในปี [[พ.ศ. 2374]] ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่[[วัดสระเกศ]] แล้วออกเดินทางไปยังเมือง[[สุพรรณบุรี|สุพรรณ]]เพื่อค้นหายาอายุวัฒนะ การเดินทางของสุนทรภู่ครั้งนี้หนักหนาแทบเอาชีวิตไม่รอด สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรกลับมา สุนทรภู่เขียนบทสรุปของการเดินทางครั้งนี้ไว้ในโคลงบทก่อนบทสุดท้าย คือบทที่ 461 ความว่า
 
{{โคลงสี่สุภาพ|หวังไว้ให้ลูกเต้า|เหล่าหลาน|รู้เรื่องเปลืองป่วยการ|เกิดร้อน|อายุวัฒนะขนาน|นี้พ่อ ขอเอย|แร่ปรอทยอดยากข้อน|คิดไว้ให้จำฯ}}
 
อย่างไรก็ดี บางหลักฐานเชื่อว่า [[หมื่นพรหมสมพัตสร (มี)]] เป็นผู้ประพันธ์ เพราะโคลงกระทู้บอกไว้ตอนท้ายว่า "เสมียนมีแต่งถวาย" คาดว่าแต่งราว พ.ศ. 2383 ขณะที่มีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นพรหมสมพัตสร<ref>{{cite web |title=นิราศสุพรรณ ของ นายมี |url=https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/h9N9COw0Uhgic7fyNjq7fFehK7xCIZf2Sge0BFYp.pdf}}</ref>
 
== เนื้อหาโดยย่อ และเส้นทางการเดินทาง ==
นิราศเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ เรื่องนี้นอกจากจะมีความไพเราะซาบซึ้งและให้ความสนุกเพลิดเพลินตามท้องเรื่องแล้ว ยังทำให้ผู้อ่านได้ทราบรายละเอียดในเรื่องการเดินทางไปสุพรรณบุรีของสุนทรภู่ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาชีวประวัติของท่านเพิ่มเติมอีกด้วย นอกจากนี้ที่สำคัญก็คือ ได้ช่วยให้ผู้ที่หลงใหลในเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและหายาอายุวัฒนะซึ่งปัจุบันนี้ก็ยังมีผู้เชื่อว่ามี ได้ทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ ดังสุนทรภู่ได้แถลงไว้ชัดเจนแล้วในตอนสุดท้ายของโคลงนิราศเรื่องนี้
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==