ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพุทธปทีป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 38:
'''วัดพุทธปทีป''' กรุงลอนดอน ในพระอุปถัมภ์[[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] เป็นวัดไทยในต่างประเทศ ตั้งอยู่ในเมืองวิมเบิลทัน [[ลอนดอน]] [[สหราชอาณาจักร]] ถือเป็นวัดไทยแห่งแรกที่สร้างใน[[สหราชอาณาจักร]] ในปี พ.ศ. 2507 งบประมาณการก่อสร้างราว 40 ล้านบาท ถือเป็นพระอุโบสถไทยแห่งแรกในทวีปยุโรปและกลายเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยในสหราชอาณาจักร รวมทั้งเปิดต้อนรับผู้มาเยือนต่างศาสนาที่ต้องการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของไทย<ref>แปลจาก [[:en:Wat Buddhapadipa]]</ref>
 
วัดแห่งนี้เริ่มจากการที่ [[พระราชสิทธิมุนี]] (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.๙) และ [[พระมหาวิจิตร ติสฺสทตฺโต]] [[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์]] ได้รับอาราธนาให้เดินทางไปทำการสอน[[วิปัสสนา]]กรรมฐาน ณ พุทธวิหารแฮมสเตท (Hampstead Buddhist Vihara) กรุงลอนดอน โดย[[สังฆสมาคมแห่งประเทศอังกฤษ]] ส่งผลให้เป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาสายปฏิบัติได้ประดิษฐานใน[[ทวีปยุโรป]] ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน จึงได้มีการประชุมกลุ่มชาวไทยและนักเรียนไทยในกรุงลอนดอนถึงเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของไทยในประเทศอังกฤษซึ่งมีมติให้ตั้งวัดไทยขึ้นที่กรุงลอนดอน โดยได้รับความร่วมมือจาก[[มหาเถรสมาคม]]และ[[รัฐบาลไทย]]<ref>{{Cite web |url=http://www.padipa.org/ความเป็นมา%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/ |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2021-09-30 |archive-date=2019-08-05 |archive-url=https://web.archive.org/web/20190805200235/http://www.padipa.org/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/ |url-status=dead }}</ref>
 
ด้วย[[พระอุโบสถ]]ทรงไทยซึ่งเป็นหลังแรกใน[[ทวีปยุโรป]] ลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขแบบกึ่งตรีมุขตามอย่างศิลปะสถาปัตยกรรมไทย ล้อมรอบด้วย[[กำแพงแก้ว]] มีห้องใต้ดินเป็นโถงห้องสมุดและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งพระอุโบสถนั้นออกแบบโดยนาย[[ประเวศ ลิมปรังษี]] ภายในพระอุโบสถประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยร่วมสร้างขึ้น ได้แก่ อาจารย์[[เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]], [[ปัญญา วิจินธนสาร]], [[สมภพ บุตรราช]] และ [[ปาง ชินสาย]]