ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
[[พ.ศ. 2334]] เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชจึงแบ่งไพร่พลบ้านสิงห์ท่าส่วนหนึ่งมาอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ จึงมีใบบอกขอพระราชทานตั้งให้เจ้าคำสิงห์เป็นเจ้าราชวงศ์[[เมืองโขง]] หรือ สีทันดอน (ต่อมา พ.ศ.2357 รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นที่[[พระสุนทรราชวงศา]] ดำรงฐานะเจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราชองค์แรก) และขอพระราชทานตั้งให้เจ้าบุตรไปเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครพนม เพราะเวลานั้นยังว่างเว้นเจ้าผู้ครองเมืองอยู่
 
พ.ศ. 2335 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ให้ไพร่พลก่อเจดีย์ไว้ที่วัดสมอเลียบสักเมือง เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของเจ้าพระวอ เรียกขานว่า '''ธาตุพระวอ” วอ'''
 
พ.ศ. 2338 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกขอรับพระราชทานเจ้าทิดพรหมขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีสืบต่อไป และเจ้าก่ำ (บุตรเจ้าพระวอ) เป็นเจ้าอุปราช ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าทิดพรหมเป็นที่ '''เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์''' เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 2 และเจ้าก่ำเป็นที่เจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี
 
[[พ.ศ. 2339]] เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ย้ายเมืองนครจำปาศักดิจากที่เดิมซึ่งอยู่ที่บ้านศรีสุมัง ริมฝั่ง[[แม่น้ำโขง]] มาตั้งอยู่ในบริเวณบ้านคันเกิงอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้าม[[ปากเซ|ปากแม่น้ำ]][[แม่น้ำเซโดน|เซโดน]] (ปัจจุบันเรียกว่า เมืองเก่าคันเกิง อยู่ที่บ้านเมืองเก่า เมืองโพนทอง [[แขวงจำปาศักดิ์]] [[ประเทศลาว]]) และได้สร้างพระวิหารไว้เป็นที่ประดิษฐาน[[พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย|พระแก้วขาว]] ที่อัญเชิญข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาในเมืองใหม่ แต่ความก็ไม่ปรากฏทราบมาถึงกรุงเทพฯ
 
[[พ.ศ. 2348]] เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอรับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนายอนเป็นเมือง [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านนายอนขึ้นเป็นเมืองสพาดตามคำขอนั้น