ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
P t ka99 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
| website =
}}
'''โครงการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย''' ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เป็นการฉีด[[วัคซีนโควิด-19]] ให้กับคนจำนวนมาก เพื่อรับมือกับ[[โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019]] (โควิด-19) ที่[[การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย|กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทย]] โดยเริ่มต้นในขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564

แผนการฉีดวัคซีนของประเทศในขณะนั้นมีการนำเข้าวัคซีน 2 ชนิด ได้แก่ ช่วงแรกต้องการยึด[[วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า]] และ [[วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็ก]] แผนการฉีดวัคซีนของประเทศในช่วงแรกต้องการยึดวัคซีนของแอสตราเซเนกาที่ผลิตในประเทศซึ่งบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ของ[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นหลัก คำสั่งห้ามนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่น การสื่อสารแบบขาดความเป็นเอกภาพ การกระจายวัคซีนโดยไม่คำนึงถึงลำดับความเร่งด่วนรวมถึงการเลือกปฏิบัติ และความแคลงใจต่อประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของ[[วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวคแว็ก]]ซึ่งเป็นวัคซีนอีกชนิดที่นำมาใช้ในช่วงแรก ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างมาก ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2564 [[สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์]]ประกาศจะนำเข้าวัคซีนเพิ่มเติมคือ[[วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม]] หลังจากนั้นเริ่มมีคำสั่งอนุญาตให้ราชการส่วนท้องถิ่นและเอกชนนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่นได้ ตามมาด้วยคำสั่งซื้อ[[วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน]]
 
ยอดการฉีดวัคซีนในประเทศไทย ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 4.21 ล้านโดส<ref>{{cite news |title=ไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วกว่า 4.21 ล้านโดส |url=https://www.thansettakij.com/content/covid_19/483049 |accessdate=8 June 2021 |work=ฐานเศรษฐกิจ |language=th}}</ref> เริ่มมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนทั่วประเทศในวันที่ 7 มิถุนายน แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าให้ฉีดได้ครบ 100 ล้านโดสภายในสิ้นปี 2564 แต่ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนใหญ่เนื่องจากวัคซีนยังไม่เพียงพอ