ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคลาส์ ฟ็อน ชเตาเฟินแบร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้นในปีค.ศ. 1939 ชเตาเฟินแบร์คและหน่วยของเขามีส่วนร่วมในการบุกครองโปแลนด์ เขาสนับสนุนให้เยอรมนียึดครองโปแลนด์และใช้ชาวยิวเป็นทาสแรงงานเพื่อความรุ่งเรืองของเยอรมนี<ref name="Martyn"/> เมื่อเสร็จศึกโปแลนด์ ชเตาเฟินแบร์คเริ่มรับรู้ถึงความเลวร้ายของระบอบนาซี ลุงของเขาสังเกตเห็นได้จึงพยายามโน้มน้าวให้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านนาซี เขาถูกร้องขอให้เป็นทหารผู้ช่วยของจอมพล[[วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์]] ผู้บัญชาการใหญ่กองทัพบกในขณะนั้น เพื่อร่วมวางแผนรัฐประหาร ชเตาเฟินแบร์คปฏิเสธโดยอ้างว่าทหารทุกนายได้ปฏิญาณความภักดีต่อฮิตเลอร์ไปแล้วในค.ศ. 1934<ref name="Kershaw, Ian p 525">Kershaw, Ian ''Hitler Hubris'', New York: W.W. Norton, 1998 p 525.</ref>
 
ต่อมาเขาได้ถูกย้ายไปสังกัดหน่วยขึ้นตรง[[กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน|กองบัญชาการใหญ่กองทัพบก]]ในช่วง[[สงครามลวง]] ในตอนนี้เขายังไม่ได้คิดวางแผนรัฐประหารใดๆ แต่พี่ชายสองคนของชเตาเฟินแบร์คเริ่มติดต่อกับฝ่ายต่อต้านทั้งพลเรือนและทหารแล้ว ชเตาเฟินแบร์คถูกโอนย้ายไปสังกัดกองพลยานเกราะที่ 6 และทำหน้าที่เป็นนายทหารเสนาธิการในช่วง[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส]] ในช่วงนี้เขาได้รับ[[กางเขนเหล็ก|กางเขนเหล็กชั้นหนึ่ง]]<ref>{{cite book|first = Peter|last = Hoffmann|title = Claus Schenk Graf von Stauffenberg: Die Biographie. 4. Auflage.|publisher = Pantheon|year = 2007|isbn = 978-3-570-55046-5|page = 114}}</ref> ในปีค.ศ. 1943 ชเตาเฟินแบร์คในยศพันโทถูกส่งตัวไปปฏิบัติหน้าหน้าที่นายทหารเสนาธิการของ[[กองทัพน้อยแอฟริกา]]ที่ประเทศตูนีเซีย เขาได้รับบาดเจ็บในสนามรบที่นี่ โดยสูญเสียตาซ้าย, แขนขวา, และสองนิ้วมือซ้าย<ref name=Commire1994>{{Citation|title = Historic World Leaders: Europe (L–Z)|url = https://books.google.com/books?id=-joOAQAAMAAJ&q=%22Claus+Schenk+Graf+von+Stauffenberg%22+%22left+eye%22&dq=%22Claus+Schenk+Graf+von+Stauffenberg%22+%22left+eye%22&hl=en&ei=EoR2TuiFCKPW0QHhq9zYBg&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=1&ved=0CDEQ6AEwAA|year = 1994|author = Commire, Anne|authorlink = Anne Commire|journal = Gale Research Inc.|page = 769|isbn = 978-0-8103-8411-8|accessdate = 2011-09-18}}</ref>
 
หลังพักรักษาตัวอยู่หลายเดือน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 ชเตาเฟินแบร์คได้รับการจัดแจงโดยทหารระดับสูงในฝ่ายต่อต้านให้เป็นนายทหารเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพสำรอง ({{lang|de|Ersatzheer}}) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลิน จนกระทั่งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 เขาได้เลื่อนยศเป็นพันเอกและได้ตำแหน่งใหม่เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการของประจำผู้บัญชาการกองทัพสำรอง พลเอกอาวุโส[[ฟรีดริช ฟร็อม]] ผู้บัญชาการกองทัพสำรอง<ref name="Zeller">Eberhard Zeller: ''Oberst Claus Graf Stauffenberg. Ein Lebensbild.'' Schöningh, 1994, ISBN 3-506-79770-0, S. 298–301.</ref> เมื่อได้ดำรงตำแหน่งนี้ สิ่งแรกที่เขาทำคือการนำร่าง''[[ปฏิบัติการวัลคือเรอ]]'' ฉบับแก้ไข (เพื่อใช้ก่อรัฐประหาร) ไปขออนุมัติต่อฮิตเลอร์
 
==อ้างอิง==