ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชียงลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 48:
ตัวอักษรของชาวไทลื้อคล้ายกับภาษาของ[[ชาวไทเขิน]] ซึ่งต่างจาก[[อักษรล้านนา]]
ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบนับถือพุทธศาสนา และนับถือผีบรรพบุรุษและผีต่าง ๆ
 
* การนับถือพุทธศาสนาของชาวเชียงลาบนั้นพุทธศาสนาได้แพร่มาจากเชียงใหม่ขึ้นไปถึงเมืองเชียงลาบ
* '''การนับถือผีพุทธศาสนา'''
 
พระพุทธศาสนา นับถือนิกายเถรวาท ประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมชาวเชียงลาบ การยอมรับนับถือพุทธศาสนานั้นชาวเชียงลาบได้รับการเผยแพร่มาจากเชียงใหม่
 
'''การนับถือผี'''
 
** '''ผีเจ้าเมือง''' คือผีเจ้าหลวงเชียงลาบ และนักรบโบราณต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักรักษาเมืองซึ่งผู้ทำหน้าที่ติดต่อผีเรียกว่า เข้าจ้ำ ซึ่งจะเป็นผู้ชาย
** '''ผีเรือน''' ซึ่งมีทั้งผีเรือนฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ การสืบผีนั้นผู้หญิงจะทำหน้าที่สืบผีเรือน คือต้องทำหน้าที่ต่อกับผีเซ่นไหว้ไม่ให้ขาด
เส้น 55 ⟶ 61:
** '''การทรงผีหม้อนึ้ง''' ผู้ทำหน้าที่ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นและจะต้องสืบทางสายเลือด เมื่อมีการทรงนั้นจะนำน้ำเต้าและไหข้าวมาผูกกับไม้คานให้เป็นรูปคน เขียนหูเขียนตา จมูก ใส่เสื้อผ้า แล้วนำข้าวสารใส่กระด้ง ก่อนการทรงผีนั้นจะให้ชาวบ้านพิสูจน์ก่อนคือให้ลองยกไหข้าวก่อนว่าน้ำหนักเบา เมื่อมีการทรงแล้วไหข้าวจะมีน้ำหนักมาก จนต้องใช้คนถึงสองคนช่วยกันยก ไปบริเวณพิธีที่มีกระด้งอยุ่ เมื่อไปถึงกระด้งผีหม้อนึ่งจะเขียนตัวหนังสือเป็นภาษาไทลื้อ ซึ่งจะมีล่ามคือคนแก่อ่านให้ฟัง หรือใครที่อ่านออกก้ออ่านได้เลย จากนั้นก้อจะทำพิธีเสี่ยงทายเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่ใครอยากรู้เรื่องอะไร แต่ส่วนใหญ่ถามเรื่องอาการเจ็บป่วย หากคนเจ็บป่วยนั้นจะต้องตายแน่ ๆ ผีหม้อนึ้งจะวาดเป็นรูปโลงศพ แล้วโกยข้าวสารกลบรูปโลงศพ ซึ่งการเสี่ยงทายนั้นจะตรงกับความจริงเสมอ (การทำพิธีนี้นาน ๆ อาจสิบปีจะมีสักครั้งหรือสองครั้ง)
** '''ผีก๊ะผีห่า''' คือผีไม่มีญาติ หรือสังภเวสีต่าง ๆ ที่คอยมารังควานทำร้ายชาวบ้าน เมื่อเจ็บป่วยหมอจะทำพิธีเสี่ยงทายและจะให้นำของไปเซ่นไหว้ ตามที่ผลเสี่ยงทายออกมา
** '''ผีครู''' คือผีครูบาอาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาศิษย์ ผู้เรียนคาถาเวทย์มนต์ต่าง ๆ
 
== ชาวเมืองเชียงลาบในประเทศไทย ==